• เกี่ยวกับเวิร์ดเพรส
    • WordPress.org
    • เอกสารประกอบ
    • Learn WordPress
    • สนับสนุน
    • ผลตอบรับ
  • Log In
Skip to content

Menu

  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • ความรู้รอบตัว
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • โครงการอะพอลโล
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ

คลังเก็บ

  • พฤษภาคม 2025
  • เมษายน 2025
  • มีนาคม 2025
  • กุมภาพันธ์ 2025
  • มกราคม 2025
  • ธันวาคม 2024
  • พฤศจิกายน 2024
  • ตุลาคม 2024
  • กันยายน 2024
  • สิงหาคม 2024
  • กรกฎาคม 2024
  • มิถุนายน 2024
  • พฤษภาคม 2024
  • เมษายน 2024
  • มีนาคม 2024
  • กุมภาพันธ์ 2024
  • มกราคม 2024
  • พฤศจิกายน 2023
  • ตุลาคม 2023

Calendar

พฤษภาคม 2025
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031  
« เม.ย.    

หมวดหมู่

  • ข่าวอวกาศ
  • คนไทยในวงการอวกาศ
  • ความรู้รอบตัว
  • ดวงจันทร์
  • ดวงอาทิตย์
  • ดาราศาสตร์
  • ดาวพฤหัสบดี
  • ดาวพุธ
  • ดาวยูเรนัส
  • ดาวศุกร์
  • ดาวอังคาร
  • ดาวเคราะห์แคระ
  • ดาวเนปจูน
  • ดาวเสาร์
  • ตำนานวงการอวกาศ
  • ทั่วไป
  • นักดาราศาสตร์
  • นักบินอวกาศ
  • นักบินอวกาศและบุคคลสำคัญ
  • ระบบสุริยะ
  • ระบบสุริยะของเรา
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
  • หน่วยงานอวกาศ
  • เทคโนโลยีอวกาศ
  • โครงการอะพอลโล
  • โลก

Copyright มนุษย์อวกาศ 2025 | Theme by ThemeinProgress | Proudly powered by WordPress

มนุษย์อวกาศ
  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • ความรู้รอบตัว
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • โครงการอะพอลโล
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ
You are here :
  • Home
  • เทคโนโลยีอวกาศ
  • หินดวงจันทร์สังเคราะห์ไทย ก้าวสำคัญสู่การสำรวจอวกาศและการตั้งถิ่นฐานบนดาวเคราะห์
12 พฤษภาคม 2025

หินดวงจันทร์สังเคราะห์ไทย ก้าวสำคัญสู่การสำรวจอวกาศและการตั้งถิ่นฐานบนดาวเคราะห์

เทคโนโลยีอวกาศ Article

นับเป็นอีกก้าวสำคัญของวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศของไทย เมื่อ “หินดวงจันทร์สังเคราะห์ไทย” (Thailand Lunar Simulant) ได้รับการยอมรับและบันทึกในฐานข้อมูลวิจัย Planetary Simulant Database ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลสำหรับการศึกษาวิจัยหินจากดาวเคราะห์ต่างๆ การได้รับการยอมรับในระดับนานาชาตินี้ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของนักวิจัยไทย แต่ยังมีบทบาทสำคัญต่อความก้าวหน้าของมนุษยชาติในการศึกษาและเตรียมความพร้อมสำหรับการตั้งถิ่นฐานบนดาวดวงอื่น

หินดวงจันทร์สังเคราะห์มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจำลองสภาพแวดล้อมบนดวงจันทร์เพื่อทำการศึกษาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์บนดวงจันทร์ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการจำลองการปลูกพืชเพื่อเป็นแหล่งอาหาร หรือการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำทรัพยากรบนดวงจันทร์มาใช้ประโยชน์ เช่น การใช้หินดวงจันทร์ในการพิมพ์สามมิติ (3D print) เพื่อสร้างที่อยู่อาศัย

“TLS-01” (ทีแอลเอส-ศูนย์หนึ่ง) คือหินจำลองพื้นผิวดวงจันทร์ตัวแรกที่พัฒนาขึ้นในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจอวกาศในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภารกิจอาร์ทิมิส (Artemis) ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration หรือ NASA) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้างอาณานิคมมนุษย์บนดวงจันทร์ภายในอนาคตอันใกล้นี้

การพัฒนาหินจำลองพื้นผิวดวงจันทร์ (Lunar regolith simulant) ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับดินบนดวงจันทร์จริง ทั้งในด้านคุณสมบัติทางกายภาพ (physical properties) และทางเคมี (chemical properties) เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ประเทศไทยสามารถทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจดวงจันทร์ได้อย่างต่อเนื่อง การมีดินจำลองที่สามารถหาได้ง่าย มีราคาไม่สูง และมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับดินบนดวงจันทร์จริง จะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสในการทำการวิจัยได้อย่างกว้างขวาง

ในการศึกษานี้ นักวิจัยไทยได้นำเสนอ “TLS-01” ซึ่งเป็นดินจำลองพื้นผิวดวงจันทร์ตัวแรกที่พัฒนาขึ้นในประเทศ โดยมุ่งเน้นไปที่การทดสอบคุณสมบัติทางกล (mechanical properties) ของดินจำลองนี้ ผลการทดสอบโดยใช้วิธีทดสอบแรงเฉือนแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage direct shear testing method หรือ KU-MDS shear testing method) แสดงให้เห็นว่าคุณสมบัติทางกลของ TLS-01 อยู่ในช่วงเดียวกับดินจำลองพื้นผิวดวงจันทร์อื่นๆ ที่พัฒนาขึ้นในต่างประเทศ และที่สำคัญคืออยู่ในช่วงเดียวกับดินบนดวงจันทร์จริงที่ถูกเก็บกลับมาโดยภารกิจอะพอลโล (Apollo missions) ของสหรัฐอเมริกา

แหล่งที่มาของวัสดุที่ใช้ในการผลิต TLS-01 ได้รับการคัดเลือกจากความคล้ายคลึงกันของคุณสมบัติทางธรณีเคมี (geochemical properties) ของหินบะซอลต์ (basaltic rock) ที่มีการสำรวจและพบในประเทศไทย กับดินบนดวงจันทร์ที่ได้มาจากภารกิจอพอลโล ด้วยเหตุนี้ TLS-01 จึงแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติทางกลและทางเคมีที่เหมาะสมในการเป็นดินจำลองพื้นผิวดวงจันทร์ตัวแรกสำหรับประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การพัฒนาหินดวงจันทร์สังเคราะห์ TLS-01 นี้ ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความสามารถของประเทศไทยในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งไม่เพียงแต่จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศในระดับนานาชาติ แต่ยังมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนภารกิจการสำรวจอวกาศของมนุษยชาติในอนาคต


ที่มาของข้อมูล:

  • ดร.วเรศ จันทร์เจริญ
    วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
  • Research Gate

You may also like

กล้องโทรทรรศน์อวกาศแนนซี เกรซ โรมัน ดวงตาใหม่สู่อวกาศลึก

เมนูสำหรับดาวอังคาร การออกแบบระบบอาหารสำหรับห้วงอวกาศลึก

ตงฟางหง 1 ปฐมบทแห่งความภาคภูมิใจ สู่หน้าประวัติศาสตร์อันรุ่งโรจน์ของอวกาศจีน

จำนวนเข้าชม: 16
Tags: Thailand Lunar Simulant, TLS-01, หินดวงจันทร์สังเคราะห์, หินดวงจันทร์เทียม

โครงการ The 6th Kibo-RPC

เรื่องยอดนิยม

  • 9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (3,552)
  • บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,212)
  • จีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,775)
  • ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,726)
  • SpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,573)

© SPACEMAN มนุษย์อวกาศ | Theme by ThemeinProgress | Proudly powered by WordPress