• เกี่ยวกับเวิร์ดเพรส
    • WordPress.org
    • เอกสารประกอบ
    • Learn WordPress
    • สนับสนุน
    • ผลตอบรับ
  • Log In
Skip to content

Menu

  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • โครงการอะพอลโล
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีจรวด
    • ความรู้รอบตัว
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ

คลังเก็บ

  • พฤษภาคม 2025
  • เมษายน 2025
  • มีนาคม 2025
  • กุมภาพันธ์ 2025
  • มกราคม 2025
  • ธันวาคม 2024
  • พฤศจิกายน 2024
  • ตุลาคม 2024
  • กันยายน 2024
  • สิงหาคม 2024
  • กรกฎาคม 2024
  • มิถุนายน 2024
  • พฤษภาคม 2024
  • เมษายน 2024
  • มีนาคม 2024
  • กุมภาพันธ์ 2024
  • มกราคม 2024
  • พฤศจิกายน 2023
  • ตุลาคม 2023

Calendar

พฤษภาคม 2025
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031  
« เม.ย.    

หมวดหมู่

  • ข่าวอวกาศ
  • คนไทยในวงการอวกาศ
  • ความรู้รอบตัว
  • ดวงจันทร์
  • ดวงอาทิตย์
  • ดาราศาสตร์
  • ดาวพฤหัสบดี
  • ดาวพุธ
  • ดาวยูเรนัส
  • ดาวศุกร์
  • ดาวอังคาร
  • ดาวเคราะห์แคระ
  • ดาวเนปจูน
  • ดาวเสาร์
  • ตำนานวงการอวกาศ
  • ทั่วไป
  • นักดาราศาสตร์
  • นักบินอวกาศ
  • นักบินอวกาศและบุคคลสำคัญ
  • ระบบสุริยะ
  • ระบบสุริยะของเรา
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
  • หน่วยงานอวกาศ
  • เทคโนโลยีจรวด
  • เทคโนโลยีอวกาศ
  • โครงการอะพอลโล
  • โลก

Copyright มนุษย์อวกาศ 2025 | Theme by ThemeinProgress | Proudly powered by WordPress

มนุษย์อวกาศ
  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • โครงการอะพอลโล
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีจรวด
    • ความรู้รอบตัว
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ
You are here :
  • Home
  • ข่าวอวกาศ
  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มุ่งสู่ความเป็นผู้นำด้านอวกาศระดับโลก
18 พฤษภาคม 2025

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มุ่งสู่ความเป็นผู้นำด้านอวกาศระดับโลก

ข่าวอวกาศ Article

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มุ่งสู่ความเป็นผู้นำด้านอวกาศระดับโลก ด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการพัฒนาขีดความสามารถด้านอวกาศในหลากหลายมิติ ทั้งเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และความมั่นคง ซึ่งได้รับการขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพผ่านการลงทุนอย่างต่อเนื่องโดย UAE Space Agency ร่วมกับ Mohammed bin Rashid Space Centre (MBRSC)

ปัจจุบัน UAE ไม่เพียงแต่พัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจโลก เช่น DubaiSat และ KhalifaSat เท่านั้น แต่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาและสร้างดาวเทียมความละเอียดสูงอย่าง MBZ-SAT และ MeznSat ที่มีความละเอียดของภาพถ่ายถึง 25 เซนติเมตร ยิ่งไปกว่านั้น ความสำเร็จในการส่งยานอวกาศ “Hope” ไปโคจรรอบดาวอังคารได้สำเร็จ และปฏิบัติภารกิจสำรวจสภาพแวดล้อมบนดาวอังคารตั้งแต่ปี 2021 จนถึงปัจจุบัน รวมถึงการปรับวงโคจรเพื่อสำรวจดวงจันทร์ของดาวอังคารในเวลาต่อมา ถือเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความก้าวหน้าอันโดดเด่นของ UAE ในด้านการสำรวจอวกาศ

นอกจากนี้ UAE ยังมีแผนงานที่ก้าวหน้าในด้านภารกิจนักบินอวกาศ โดยไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการปฏิบัติงานบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) แต่ยังรวมถึงแผนการส่งยานสำรวจ (โรเวอร์) พร้อมนักบินอวกาศชาวอาหรับไปสำรวจดวงจันทร์ อีกทั้งยังมีโครงการพัฒนาท่าอวกาศยานเชิงพาณิชย์เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านอวกาศของภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (MENA) และที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือความร่วมมือระหว่าง Virgin Galactic กับรัฐบาลอาบูดาบีในการสร้าง Commercial Spaceport สำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวอวกาศ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปลายปี 2025

จากข้อมูลในปี 2022 อุตสาหกรรมอวกาศของ UAE มีมูลค่ารวมกว่า 22,000 ล้านดีแรห์ม (ประมาณ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งรวมถึงบริษัทมากกว่า 50 แห่ง ทั้งองค์กรภาครัฐ มหาวิทยาลัย และบริษัทสตาร์ทอัพ ที่ดำเนินงานในด้านต่างๆ เช่น การสื่อสารผ่านดาวเทียม การวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม และการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศ

ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาล UAE ยังได้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจอวกาศ (Space Economic Zones) ในหลายพื้นที่ เช่น Al Ain, Masdar City และ Dubai Silicon Oasis เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากภาคเอกชนและบริษัทเทคโนโลยีเกิดใหม่ โดยมีกลไกสนับสนุนที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การยกเว้นภาษี การเข้าถึงแหล่งเงินทุนวิจัย และการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ เป็นต้น


  • ข้อมูลจากหนังสือ Mission to Mars
    เรียบเรียงโดย ดร.อัมรินทร์ พิมพ์หนู
    ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอวกาศ

You may also like

ภารกิจสำรวจดวงจันทร์ครั้งใหม่ ยานลงจอด RESILIENCE เตรียมตัวลงจอดใน Mare Frigoris

จักรวาลอาจดับเร็วกว่าที่คิด นักวิทยาศาสตร์คำนวณจุดจบไว้แล้ว

นาซาเผยเบื้องลึกโครงสร้างภายในของดวงจันทร์และดาวเคราะห์น้อยเวสตา

จำนวนเข้าชม: 16
Tags: Mission to Mars, Mohammed bin Rashid Space Centre (MBRSC), UAE Space Agency, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

โครงการ The 6th Kibo-RPC

เรื่องยอดนิยม

  • 9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (3,616)
  • บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,218)
  • จีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,779)
  • ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,730)
  • SpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,588)

© SPACEMAN มนุษย์อวกาศ | Theme by ThemeinProgress | Proudly powered by WordPress