
ภาพ “เสาแห่งการก่อกำเนิด” จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราและเจมส์ เว็บบ์
ภาพ “เสาแห่งการก่อกำเนิด” จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราและเจมส์ เว็บบ์ ซึ่งเป็นภาพถ่ายผสมผสานกันระหว่างภาพรังสีเอ็กซ์จากกล้องจันทรา และภาพอินฟราเรดจากกล้องเจมส์ เว็บบ์
บริเวณการก่อตัวของดาวฤกษ์นี้มี “เสาแห่งการก่อกำเนิด” (Pillars of Creation) ซึ่งโด่งดังจากภาพถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กล้องจันทราได้ตรวจพบรังสีเอ็กซ์จากดาวฤกษ์อายุน้อยในบริเวณนี้ รวมถึงดาวฤกษ์ที่ฝังตัวอยู่ในเสาต้นหนึ่งด้วย
เสาแห่งการก่อกำเนิด (Pillars of Creation) คือ บริเวณที่มีการก่อตัวของดาวฤกษ์ใหม่ อยู่ในเนบิวลานกอินทรี (Eagle Nebula) ห่างจากโลกประมาณ 7,000 ปีแสง ลักษณะเป็นกลุ่มก้อนของแก๊สและฝุ่นอวกาศขนาดใหญ่ มีรูปร่างคล้ายเสาหิน
บริเวณนี้เป็นที่รู้จักและโด่งดังมากจากการที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้บันทึกภาพเอาไว้ได้เมื่อปี พ.ศ. 2538 ต่อมา กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ได้บันทึกภาพของเสาแห่งการก่อกำเนิดอีกครั้ง ทำให้เห็นรายละเอียดได้คมชัดและสวยงามยิ่งกว่าเดิม
เครดิตภาพ: NASA/SAO/CXC
– Chandra X-ray Observatory’s 25th anniversary
You may also like
เรื่องยอดนิยม
9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (3,459)
บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,178)
จีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,760)
ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,716)
SpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,547)