• เกี่ยวกับเวิร์ดเพรส
    • WordPress.org
    • เอกสารประกอบ
    • Learn WordPress
    • สนับสนุน
    • ผลตอบรับ
  • Log In
Skip to content

Menu

  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • โครงการอะพอลโล
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีจรวด
    • ความรู้รอบตัว
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ

คลังเก็บ

  • มิถุนายน 2025
  • พฤษภาคม 2025
  • เมษายน 2025
  • มีนาคม 2025
  • กุมภาพันธ์ 2025
  • มกราคม 2025
  • ธันวาคม 2024
  • พฤศจิกายน 2024
  • ตุลาคม 2024
  • กันยายน 2024
  • สิงหาคม 2024
  • กรกฎาคม 2024
  • มิถุนายน 2024
  • พฤษภาคม 2024
  • เมษายน 2024
  • มีนาคม 2024
  • กุมภาพันธ์ 2024
  • มกราคม 2024
  • พฤศจิกายน 2023
  • ตุลาคม 2023

Calendar

มิถุนายน 2025
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30  
« พ.ค.    

หมวดหมู่

  • ข่าวอวกาศ
  • คนไทยในวงการอวกาศ
  • ความรู้รอบตัว
  • ดวงจันทร์
  • ดวงอาทิตย์
  • ดาราศาสตร์
  • ดาวพฤหัสบดี
  • ดาวพุธ
  • ดาวยูเรนัส
  • ดาวศุกร์
  • ดาวอังคาร
  • ดาวเคราะห์แคระ
  • ดาวเนปจูน
  • ดาวเสาร์
  • ตำนานวงการอวกาศ
  • ทั่วไป
  • นักดาราศาสตร์
  • นักบินอวกาศ
  • นักบินอวกาศและบุคคลสำคัญ
  • ระบบสุริยะ
  • ระบบสุริยะของเรา
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
  • หน่วยงานอวกาศ
  • เทคโนโลยีจรวด
  • เทคโนโลยีอวกาศ
  • โครงการอะพอลโล
  • โลก

Copyright SPACEMAN 2025 | Theme by ThemeinProgress | Proudly powered by WordPress

SPACEMAN
  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • โครงการอะพอลโล
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีจรวด
    • ความรู้รอบตัว
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ
You are here :
  • Home
  • ข่าวอวกาศ
  • ดวงอาทิตย์ระอุ! ทำดาวเทียมสตาร์ลิงก์ของสเปซเอ็กซ์ร่วงจากอวกาศต่อเนื่อง
8 มิถุนายน 2025

ดวงอาทิตย์ระอุ! ทำดาวเทียมสตาร์ลิงก์ของสเปซเอ็กซ์ร่วงจากอวกาศต่อเนื่อง

ข่าวอวกาศ Article

เดนนี โอลิเวรา (Denny Oliveira) นักวิทยาศาสตร์จาก NASA Goddard Space Flight Center เปิดเผยผลการศึกษาที่น่าสนใจว่า กิจกรรมที่รุนแรงของดวงอาทิตย์ในช่วง #วัฏจักรสุริยะ (Solar cycle) ปัจจุบันได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาวเทียมสตาร์ลิงก์ (Starlink) ของบริษัทสเปซเอ็กซ์ (SpaceX)

ทีมวิจัยได้วิเคราะห์ ดาวเทียมสตาร์ลิงก์ 523 ดวงที่ตกลงสู่โลกในช่วงปี ค.ศ. 2020 ถึง 2024 และพบความเชื่อมโยงที่ชัดเจนกับกิจกรรมของดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ดวงอาทิตย์กำลังเข้าสู่จุดสูงสุดของวัฏจักรกิจกรรม

การเพิ่มขึ้นของกิจกรรมสุริยะ ซึ่งรวมถึงการปะทุของดวงอาทิตย์และมวลโคโรนา ทำให้ชั้นบรรยากาศส่วนบนของโลกขยายตัวและมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้เกิดแรงต้านต่อดาวเทียมในวงโคจรต่ำของโลกมากขึ้น ดาวเทียมจึงไม่สามารถรักษาระดับการโคจรเดิมได้ และจำเป็นต้องมีการปรับวงโคจรเพื่อให้อยู่ในอวกาศต่อไป

สเปซเอ็กซ์เริ่มปล่อยดาวเทียมสตาร์ลิงก์ในปี 2019 และการร่วงตกสู่ชั้นบรรยากาศเริ่มขึ้นในปี 2020 เพียง 2 ดวง แต่ตัวเลขเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2024 มีดาวเทียมตกลงมาถึง 316 ดวง ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับช่วงที่กิจกรรมสุริยะเพิ่มสูงขึ้น

สำหรับดาวเทียมที่ตกลงสู่ชั้นบรรยากาศนั้น ส่วนใหญ่จะถูกเผาไหม้ไปในชั้นบรรยากาศ และมีเพียงส่วนน้อยมากที่จะตกลงถึงพื้นผิวโลกในรูปแบบของเศษชิ้นส่วน และมักจะตกลงในมหาสมุทรหรือพื้นที่ห่างไกลผู้คน ซึ่งเป็นไปตามการออกแบบของดาวเทียมที่มักจะถูกเผาไหม้เมื่อกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศเพื่อลดความเสี่ยงต่ออันตรายบนพื้นโลก อย่างไรก็ตาม วงโคจรของดาวเทียมที่เสื่อมลงตามเวลาก็อาจทำให้ดาวเทียมพุ่งชนดาวเทียมดวงอื่นและกระตุ้นให้เกิด “เคสเลอร์แคสเคด” (Kessler cascade) ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เศษซากอวกาศจากการชนกันทำให้เกิดการชนกันครั้งใหม่และเพิ่มปริมาณเศษซากอวกาศมากขึ้นเรื่อย ๆ

ผลการวิจัยนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจผลกระทบของกิจกรรมสุริยะต่อดาวเทียม และอาจช่วยในการพัฒนากลยุทธ์เพื่อลดการเสื่อมถอยของวงโคจรของดาวเทียมในอนาคต บทความวิจัยนี้ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Astronomy and Space Science และเผยแพร่ทาง arXiv


ข้อมูลอ้างอิง: Science Alert

  • The Sun’s Fury Is Making SpaceX Satellites Plummet From The Sky

You may also like

เผยภาพแรกของขั้วใต้ดวงอาทิตย์จากยานโซลาร์ออร์บิเตอร์

สเปซเอ็กซ์เลื่อนส่งภารกิจ Axiom-4 หลังพบรอยรั่วในจรวดฟอลคอน 9 พร้อมภารกิจ “ไก่ไทยไปอวกาศ”

จีนเผยแพร่ภาพแรกของยานสำรวจเทียนเวิ่น 2 เดินทางไปสำรวจดาวเคราะห์น้อย 2016 HO3

จำนวนเข้าชม: 33
Tags: SpaceX, Starlink, ดาวเทียมสตาร์ลิงก์, สเปซเอ็กซ์

เรื่องยอดนิยม

  • 9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (3,908)
  • บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,295)
  • จีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,813)
  • ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,762)
  • SpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,625)

© SPACEMAN มนุษย์อวกาศ | Theme by ThemeinProgress | Proudly powered by WordPress