• เกี่ยวกับเวิร์ดเพรส
    • WordPress.org
    • เอกสารประกอบ
    • Learn WordPress
    • สนับสนุน
    • ผลตอบรับ
  • Log In
Skip to content
SPACEMAN

SPACEMAN

ท่องโลกดาราศาสตร์และอวกาศ

Primary Menu
  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • โครงการอะพอลโล
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีจรวด
    • ความรู้รอบตัว
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ
เพจ SPACEMAN
  • Home
  • ข่าวอวกาศ
  • สหรัฐฯ-ญี่ปุ่นผนึกกำลัง! ทดสอบ X-59 ในอุโมงค์ลมความเร็วสูง ตั้งเป้าลบเสียงโซนิกบูม
  • ข่าวอวกาศ

สหรัฐฯ-ญี่ปุ่นผนึกกำลัง! ทดสอบ X-59 ในอุโมงค์ลมความเร็วสูง ตั้งเป้าลบเสียงโซนิกบูม

มนุษย์อวกาศ 14 กรกฎาคม 2025
X59-Test

องค์การนาซา (NASA) และองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) ร่วมกันทดสอบแบบจำลองของเครื่องบินทดลอง X-59 ในอุโมงค์ลมความเร็วเหนือเสียง (supersonic wind tunnel) ณ เมืองโจฟุ (Chofu) ประเทศญี่ปุ่น เพื่อศึกษาและวัดระดับเสียงที่เกิดขึ้นใต้ท้องเครื่องบิน นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของภารกิจในการทำให้การเดินทางที่เร็วกว่าเสียงเป็นจริงได้โดยไม่สร้างมลภาวะทางเสียง

เครื่องบิน X-59 เป็นหัวใจสำคัญของภารกิจเควสส์ (Quesst) ของนาซา ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อออกแบบอากาศยานที่สามารถบินด้วยความเร็วเหนือเสียงได้โดยไม่ก่อให้เกิดเสียงดังสนั่น หรือ “#โซนิกบูม” (sonic boom) ที่เป็นอุปสรรคสำคัญของการบินเหนือพื้นดิน เครื่องบินรุ่นนี้ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อให้ #คลื่นกระแทก (shock waves) ที่เกิดขึ้นจากการแหวกอากาศด้วยความเร็วสูงไม่รวมตัวกันจนเกิดเสียงดัง แต่จะสร้างเพียงเสียงกระแทกที่เบาบาง (quieter sonic thump) เท่านั้น

เนื่องจากอุโมงค์ลมของ JAXA มีขนาดจำกัด นักวิจัยจึงใช้แบบจำลองของเครื่องบิน X-59 ที่มีขนาดเพียง 1.62% ของเครื่องจริง หรือยาวประมาณ 19 นิ้ว มาทำการทดสอบภายใต้สภาวะที่จำลองการบินด้วยความเร็ว 1.4 มัค (Mach 1.4) หรือประมาณ 1,488 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วเดินทางของเครื่องบิน X-59

การทดสอบครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สามแล้วสำหรับแบบจำลองลำนี้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงทดลองที่สำคัญ และนำมาเปรียบเทียบกับแบบจำลองการคำนวณพลศาสตร์ของไหล (Computational Fluid Dynamics: CFD) ที่คาดการณ์การไหลของอากาศรอบตัวเครื่องบินไว้ ข้อมูลที่ได้จะช่วยให้นักวิจัยเข้าใจระดับเสียงที่เกิดจากคลื่นกระแทกได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

เครื่องบิน X59 ลำจริง ซึ่งสร้างโดยบริษัทล็อกฮีด มาร์ติน สกังก์เวิกส์ (Lockheed Martin Skunk Works) ในเมืองปาล์มเดล รัฐแคลิฟอร์เนีย ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบภาคพื้นดินขั้นสุดท้ายก่อนจะทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อทำการบินครั้งประวัติศาสตร์ในปีนี้

ข้อมูลที่ได้จากภารกิจเควสส์ (Quesst) และเครื่องบิน X-59 จะถูกนำไปใช้ในการสร้างเครื่องมือออกแบบและเทคโนโลยีสำหรับเครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงรุ่นใหม่ที่เงียบกว่าเดิม เพื่อเปิดประตูสู่ยุคใหม่ของการเดินทางทางอากาศที่รวดเร็ว โดยไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับผู้คนบนภาคพื้นดินอีกต่อไป


ข้อมูลอ้างอิง: NASA

  • X-59 Model Tested in Japanese Supersonic Wind Tunnel
จำนวนเข้าชม: 18

Continue Reading

Previous: กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลเผยภาพ “เอเบลล์ 209” กระจุกกาแล็กซีโบราณที่บิดโค้งกาลอวกาศ
Next: ภารกิจ Crew-11 มุ่งศึกษาสุขภาพนักบินอวกาศ ปูทางสู่การเดินทางในอวกาศห้วงลึก

เรื่องน่าอ่าน

Massive Black Hole
  • ข่าวอวกาศ

LIGO ตรวจพบการรวมตัวของหลุมดำครั้งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ ท้าทายความเข้าใจเดิมของนักดาราศาสตร์

มนุษย์อวกาศ 15 กรกฎาคม 2025
Ali Observatory
  • ข่าวอวกาศ

จีนเปิดฉากภารกิจกล้องโทรทรรศน์ใหม่ เริ่มการค้นหาระลอกคลื่นแรกสุดของจักรวาล

มนุษย์อวกาศ 14 กรกฎาคม 2025
Mars-Clay
  • ข่าวอวกาศ

สัญญาณแห่งสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร อาจซ่อนตัวอยู่ในชั้นดินเหนียวหนา

มนุษย์อวกาศ 14 กรกฎาคม 2025
Lunio-Gen4

เรื่องยอดนิยม

  • nasa_technology9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (4,795)
  • Buzz-Aldrinบัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,413)
  • CNSA-Moonจีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,858)
  • Lunar-soil-Change5ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,826)
  • Poralis-DawnSpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,709)
Copyright © All rights reserved. | MoreNews by AF themes.