• เกี่ยวกับเวิร์ดเพรส
    • WordPress.org
    • เอกสารประกอบ
    • Learn WordPress
    • สนับสนุน
    • ผลตอบรับ
  • Log In
Skip to content
SPACEMAN

SPACEMAN

ท่องโลกดาราศาสตร์และอวกาศ

Primary Menu
  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • โครงการอะพอลโล
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีจรวด
    • ความรู้รอบตัว
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ
เพจ SPACEMAN
  • Home
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
  • แถบไคเปอร์ ขุมทรัพย์แห่งดาวหางและดาวเคราะห์แคระนอกระบบสุริยะ
  • ความรู้รอบตัว
  • สารานุกรมดาราศาสตร์

แถบไคเปอร์ ขุมทรัพย์แห่งดาวหางและดาวเคราะห์แคระนอกระบบสุริยะ

มนุษย์อวกาศ 10 กุมภาพันธ์ 2025
Kuiper

แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) เป็นบริเวณที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ที่ด้านนอกระบบสุริยะของเรา มีบริเวณกว้าง 3,500 ล้านไมล์ ซึ่งเต็มไปด้วยก้อนวัตถุแข็งขนาดเล็กจำนวนมาก ที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็งโคจรรอบดวงอาทิตย์

บริเวณนี้มีวัตถุที่มีลักษณะคล้ายกับแถบดาวเคราะห์น้อย ที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี วัตถุที่อยู่ในแถบไคเปอร์ มีชื่อเรียกว่า วัตถุแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Object – KBO) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object – TNO)

แถบไคเปอร์ ถูกตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ เจอราร์ด ไคเปอร์ (Gerard Kuiper) ผู้บุกเบิกการศึกษาดาวเคราะห์และไขปริศนา ต้นกำเนิดระบบสุริยะ

เดิมทีวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ถูกค้นพบในแถบไคเปอร์ คือ ดาวพลูโต (Pluto) ซึ่งถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) ส่วนก้อนน้ำแข็งอื่น ๆ นั้นมีแสงริบหรี่และมองหายาก จึงถูกค้นพบในเวลาต่อมา

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) ได้มีการค้นพบวัตถุแรกในแถบไคเปอร์ ชื่อว่า 1992 QB1 และในปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุในแถบไคเปอร์แล้วมากกว่า 3,000 ชิ้น หนึ่งในวัตถุที่สำคัญคือ อีริส (Eris) ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับดาวพลูโต และเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์แคระของระบบสุริยะของเรา

นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ก้อนน้ำแข็งเหล่านี้เป็นแหล่งกำเนิดของ “ดาวหางคาบสั้น” โดยชื่อแถบไคเปอร์นี้ ได้ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ เจอราร์ด ไคเปอร์ (Gerard Peter Kuiper) ผู้ค้นพบ

นอกจากนี้ แถบไคเปอร์ยังเป็นบริเวณที่มีความสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับต้นกำเนิดและการวิวัฒนาการของระบบสุริยะ เนื่องจากวัตถุในแถบไคเปอร์ส่วนใหญ่เป็นวัตถุโบราณที่ยังคงสภาพเดิมมาตั้งแต่ยุคแรก ๆ ของการก่อตัวของระบบสุริยะ

จำนวนเข้าชม: 240

Continue Reading

Previous: แถลงการณ์ร่วมสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น หนุนอาร์เทมิสท่ามกลางความไม่แน่นอน
Next: นาซาเผยภาพดิสก์รอบดาวเวกาจากกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลและเว็บบ์

เรื่องน่าอ่าน

ltv-concept
  • ข่าวอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
  • เทคโนโลยีอวกาศ

นาซาเผยเครื่องมือคู่ใจนักบินอวกาศ บนรถ LTV ส่องทะลุพื้นผิวดวงจันทร์

มนุษย์อวกาศ 12 กรกฎาคม 2025
Tanabata-day
  • ความรู้รอบตัว
  • สารานุกรมดาราศาสตร์

วันทานาบาตะ (Tanabata) เทศกาลแห่งดวงดาวและการขอพร

มนุษย์อวกาศ 7 กรกฎาคม 2025
Veggie
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
  • เทคโนโลยีอวกาศ

ดอกไม้แรกบานในอวกาศ ย่างก้าวสำคัญของมนุษยชาติสู่การตั้งถิ่นฐานนอกโลก

มนุษย์อวกาศ 7 กรกฎาคม 2025
Lunio-Gen4

เรื่องยอดนิยม

  • nasa_technology9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (4,762)
  • Buzz-Aldrinบัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,406)
  • CNSA-Moonจีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,856)
  • Lunar-soil-Change5ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,823)
  • Poralis-DawnSpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,702)
Copyright © All rights reserved. | MoreNews by AF themes.