• เกี่ยวกับเวิร์ดเพรส
    • WordPress.org
    • เอกสารประกอบ
    • Learn WordPress
    • สนับสนุน
    • ผลตอบรับ
  • Log In
Skip to content

Menu

  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • ความรู้รอบตัว
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • โครงการอะพอลโล
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ

คลังเก็บ

  • พฤษภาคม 2025
  • เมษายน 2025
  • มีนาคม 2025
  • กุมภาพันธ์ 2025
  • มกราคม 2025
  • ธันวาคม 2024
  • พฤศจิกายน 2024
  • ตุลาคม 2024
  • กันยายน 2024
  • สิงหาคม 2024
  • กรกฎาคม 2024
  • มิถุนายน 2024
  • พฤษภาคม 2024
  • เมษายน 2024
  • มีนาคม 2024
  • กุมภาพันธ์ 2024
  • มกราคม 2024
  • พฤศจิกายน 2023
  • ตุลาคม 2023

Calendar

พฤษภาคม 2025
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031  
« เม.ย.    

หมวดหมู่

  • ข่าวอวกาศ
  • คนไทยในวงการอวกาศ
  • ความรู้รอบตัว
  • ดวงจันทร์
  • ดวงอาทิตย์
  • ดาราศาสตร์
  • ดาวพฤหัสบดี
  • ดาวพุธ
  • ดาวยูเรนัส
  • ดาวศุกร์
  • ดาวอังคาร
  • ดาวเคราะห์แคระ
  • ดาวเนปจูน
  • ดาวเสาร์
  • ตำนานวงการอวกาศ
  • ทั่วไป
  • นักดาราศาสตร์
  • นักบินอวกาศ
  • นักบินอวกาศและบุคคลสำคัญ
  • ระบบสุริยะ
  • ระบบสุริยะของเรา
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
  • หน่วยงานอวกาศ
  • เทคโนโลยีอวกาศ
  • โครงการอะพอลโล
  • โลก

Copyright มนุษย์อวกาศ 2025 | Theme by ThemeinProgress | Proudly powered by WordPress

มนุษย์อวกาศ
  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • ความรู้รอบตัว
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • โครงการอะพอลโล
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ
You are here :
  • Home
  • ข่าวอวกาศ
  • ACES ก้าวสำคัญแห่งวิทยาศาสตร์การจับเวลาในอวกาศ สำรวจความลับของจักรวาลด้วยนาฬิกาอะตอมที่แม่นยำที่สุด
4 พฤษภาคม 2025

ACES ก้าวสำคัญแห่งวิทยาศาสตร์การจับเวลาในอวกาศ สำรวจความลับของจักรวาลด้วยนาฬิกาอะตอมที่แม่นยำที่สุด

ข่าวอวกาศ Article

เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2568 องค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency: ESA) ได้ส่ง Atomic Clock Ensemble in Space (ACES) หรือ ชุดนาฬิกาอะตอมในอวกาศ สู่บ้านใหม่ในอวกาศ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสำรวจปัญหาพื้นฐานที่สุดของฟิสิกส์ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติของแรงโน้มถ่วงไปจนถึงคำจำกัดความของเวลา

หัวใจสำคัญของ ACES คือนาฬิกาที่ทำงานเสริมกันสองระบบ ได้แก่ PHARAO ซึ่งเป็นนาฬิกาซีเซียม และ Space Hydrogen Maser หรือ เมเซอร์ไฮโดรเจนอวกาศ เมื่อทำงานร่วมกับระบบถ่ายโอนเวลาที่ซับซ้อน นาฬิกาทั้งสองจะทำให้ ACES สามารถเปรียบเทียบการรักษาเวลาบนยานของตัวเองกับนาฬิกาที่แม่นยำที่สุดบนโลก การสร้าง “เครือข่ายนาฬิกา” ระดับโลกนี้จะช่วยให้สามารถทำการเปรียบเทียบข้ามทวีปด้วยความแม่นยำที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งจะนำไปสู่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มากมาย

หนึ่งในเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์หลักของ ACES คือการทดสอบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ (Einstein’s theory of general relativity) ซึ่งอธิบายว่าแรงโน้มถ่วงส่งผลต่อการไหลของเวลา หรือปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ปรากฏการณ์เลื่อนไปทางแดงเชิงโน้มถ่วง (gravitational redshift) หรือ การขยายเวลา (time dilation) การทดลองก่อนหน้านี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่านาฬิกาเดินเร็วขึ้นเมื่ออยู่ที่ระดับความสูงที่มากขึ้น เช่น บนยอดเขาเอเวอเรสต์ ACES จะนำการทดลองนี้ไปสู่อีกระดับขั้น โดยการวัดเวลาจากระดับความสูง 400 กิโลเมตรเหนือโลก ด้วยความแม่นยำที่ภารกิจก่อนหน้าไม่เคยทำได้ ข้อมูลที่ได้คาดว่าจะปรับปรุงการวัดปรากฏการณ์เลื่อนไปทางแดงเชิงโน้มถ่วงในปัจจุบันได้ถึงสิบเท่า

นิยามใหม่ของวินาที

นอกจากนี้ ACES อาจช่วยในการกำหนดนิยามใหม่ของวินาที มาตรฐานเวลาในปัจจุบันอิงตามนาฬิกาซีเซียม (caesium clock) ซึ่งคล้ายกับ PHARAO แต่นาฬิกาเชิงแสง (optical clock) กำลังก้าวขึ้นมาเป็นอนาคตของการรักษาเวลา จนถึงขณะนี้ การเปรียบเทียบนาฬิกาเหล่านี้ข้ามทวีปยังไม่สามารถทำได้ด้วยความแม่นยำที่เพียงพอ ACES จะเปลี่ยนแปลงสิ่งนั้น โดยทำให้สามารถเปรียบเทียบนาฬิกาทั่วโลกด้วยความแม่นยำระดับ  10 ควินทิลเลียนวินาที ซึ่งดีกว่าวิธีที่ใช้ GPS ในปัจจุบันถึงร้อยเท่า

รูปร่างของโลก

ACES จะเป็นประโยชน์ต่อด้านไกโอดีซี (geodesy) ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์การวัดรูปร่างและสนามแรงโน้มถ่วงของโลก และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเหล่านี้เมื่อเวลาผ่านไปด้วย ด้วยการเปรียบเทียบการขยายเวลาระหว่างนาฬิกาที่ระดับความสูงต่างกันบนโลก ACES จะให้ข้อมูลที่มีความแม่นยำสูง ซึ่งจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจความแตกต่างเฉพาะที่ในแรงโน้มถ่วงของโลกได้ดีขึ้น อันเนื่องมาจากความแตกต่างของความหนาแน่นของภูมิประเทศ เช่น ทวีปหรือมหาสมุทร การวัดเฉพาะที่ของ ACES สามารถนำไปสู่แผนที่สนามแรงโน้มถ่วงของโลกที่แม่นยำยิ่งขึ้น และช่วยรวมระบบความสูงทั่วประเทศและทวีปต่างๆ

ฟิสิกส์ใหม่

ACES ยังมอบโอกาสอันหายากในการสำรวจกฎพื้นฐานของจักรวาล ด้วยการเปรียบเทียบนาฬิกาภาคพื้นดินที่อิงตามการเปลี่ยนสถานะของอะตอมที่แตกต่างกัน ACES สามารถตรวจสอบได้ว่าค่าคงที่ทางฟิสิกส์ที่สำคัญ เช่น ค่าคงที่โครงสร้างละเอียด (fine-structure constant) ซึ่งควบคุมความแรงของอันตรกิริยาทางแม่เหล็กไฟฟ้า ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงใดๆ แม้เพียงเล็กน้อย อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงฟิสิกส์ใหม่ในสาขาต่างๆ เช่น สสารมืด (dark matter) ส่วนขยายของแบบจำลองมาตรฐาน (standard model extensions) และอื่นๆ

การทดลองที่น่าทึ่งเหล่านี้ทำให้ ACES ไม่เพียงแต่เป็นผู้รักษาเวลาที่มีความแม่นยำสูงในอวกาศ แต่ยังเป็นห้องปฏิบัติการสำหรับการสำรวจการทำงานพื้นฐานของจักรวาล ทีละวินาที


ข้อมูลข่าว: ESA

  • ACES: time for science

You may also like

จีนเตรียมส่งโมดูลใหม่สู่สถานีอวกาศเทียนกง เสริมแกร่งการทดลอง วิทยาศาสตร์ และความร่วมมือระดับนานาชาติ

ภาพใหม่จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ของ NASA สำรวจ “หน้าผาแห่งจักรวาล”

GISTDA เกาะติดสถานการณ์ คอสมอส 482 (KOSMOS 482) ใกล้ชิด! คาดการณ์ตก 10 พ.ค. นี้ พร้อมเผยโอกาสกระทบไทย

จำนวนเข้าชม: 54
Tags: ACES, Atomic Clock, Gravitational Redshift, ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไต, นาฬิกาอะตอม, นาฬิกาอะตอมในอวกาศ, เวลา

เรื่องยอดนิยม

  • 9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (3,536)
  • บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,208)
  • จีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,773)
  • ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,726)
  • SpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,571)

© SPACEMAN มนุษย์อวกาศ | Theme by ThemeinProgress | Proudly powered by WordPress