• เกี่ยวกับเวิร์ดเพรส
    • WordPress.org
    • เอกสารประกอบ
    • Learn WordPress
    • สนับสนุน
    • ผลตอบรับ
  • Log In
Skip to content

Menu

  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • โครงการอะพอลโล
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีจรวด
    • ความรู้รอบตัว
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ

คลังเก็บ

  • มิถุนายน 2025
  • พฤษภาคม 2025
  • เมษายน 2025
  • มีนาคม 2025
  • กุมภาพันธ์ 2025
  • มกราคม 2025
  • ธันวาคม 2024
  • พฤศจิกายน 2024
  • ตุลาคม 2024
  • กันยายน 2024
  • สิงหาคม 2024
  • กรกฎาคม 2024
  • มิถุนายน 2024
  • พฤษภาคม 2024
  • เมษายน 2024
  • มีนาคม 2024
  • กุมภาพันธ์ 2024
  • มกราคม 2024
  • พฤศจิกายน 2023
  • ตุลาคม 2023

Calendar

มิถุนายน 2025
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30  
« พ.ค.    

หมวดหมู่

  • ข่าวอวกาศ
  • คนไทยในวงการอวกาศ
  • ความรู้รอบตัว
  • ดวงจันทร์
  • ดวงอาทิตย์
  • ดาราศาสตร์
  • ดาวพฤหัสบดี
  • ดาวพุธ
  • ดาวยูเรนัส
  • ดาวศุกร์
  • ดาวอังคาร
  • ดาวเคราะห์แคระ
  • ดาวเนปจูน
  • ดาวเสาร์
  • ตำนานวงการอวกาศ
  • ทั่วไป
  • นักดาราศาสตร์
  • นักบินอวกาศ
  • นักบินอวกาศและบุคคลสำคัญ
  • ระบบสุริยะ
  • ระบบสุริยะของเรา
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
  • หน่วยงานอวกาศ
  • เทคโนโลยีจรวด
  • เทคโนโลยีอวกาศ
  • โครงการอะพอลโล
  • โลก

Copyright SPACEMAN 2025 | Theme by ThemeinProgress | Proudly powered by WordPress

SPACEMAN
  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • โครงการอะพอลโล
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีจรวด
    • ความรู้รอบตัว
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ
You are here :
  • Home
  • ดาราศาสตร์ ,
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
  • ภาพถ่ายมุมด้านกว้างบริเวณซีกใต้ดาวเคราะห์น้อยเบนนู (Bennu)
7 มิถุนายน 2025

ภาพถ่ายมุมด้านกว้างบริเวณซีกใต้ดาวเคราะห์น้อยเบนนู (Bennu)

ดาราศาสตร์ . สารานุกรมดาราศาสตร์ Article

ภาพอันน่าสนใจนี้เผยให้เห็นมุมมองกว้างไกลของบริเวณซีกใต้ของ ดาวเคราะห์น้อยเบนนู (Bennu) ไปจนถึงห้วงอวกาศอันเวิ้งว้าง แสดงให้เห็นถึงจำนวนและการกระจายตัวของก้อนหินขนาดใหญ่ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้

ภาพนี้บันทึกไว้เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 โดยกล้องโพลีแคม (PolyCam) ที่ติดตั้งอยู่บนยานอวกาศโอไซริส-เรกซ์ (OSIRIS-REx) ขององค์การนาซา โดยถ่ายจากระยะห่างประมาณ 5 กิโลเมตร จากพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อย ก้อนหินขนาดใหญ่ที่มีสีอ่อนซึ่งอยู่ใกล้กึ่งกลางภาพนั้น มีความกว้างประมาณ 7.4 เมตร

ดาวเคราะห์น้อยเบนนู (Bennu) เป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีคาร์บอนสูง (carbonaceous asteroid) จัดอยู่ในกลุ่มดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก (Near-Earth Asteroids – NEAs) มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 500 เมตร และโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยมีวงโคจรที่ค่อนข้างใกล้กับโลก โดยมีโอกาสที่จะพุ่งชนโลกในอนาคต จึงถูกจัดให้เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์น้อยที่มีโอกาสเสี่ยงสูงที่อาจชนโลกได้ในอีกหลายร้อยปีข้างหน้า ทำให้การศึกษาดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความเข้าใจและวางแผนรับมือกับภัยคุกคามจากอวกาศ

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเบนนูเป็น “กองเศษหิน” (rubble pile) ที่ยึดติดกันอย่างหลวมๆ ด้วยแรงโน้มถ่วง ไม่ใช่ก้อนหินแข็งขนาดใหญ่เพียงก้อนเดียว และคาดว่ามีจุดกำเนิดมาจากดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่กว่าที่แตกสลายไปในช่วงต้นของระบบสุริยะ

ภารกิจ โอไซริส-เรกซ์ (OSIRIS-REx) ซึ่งย่อมาจาก Origins, Spectral Interpretation, Resource Identification, Security, Regolith Explorer มีเป้าหมายหลักในการเก็บตัวอย่างหินและฝุ่นจากพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยเบนนู เพื่อนำกลับมายังโลกให้นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวิเคราะห์อย่างละเอียด ตัวอย่างที่นำกลับมาได้นี้เป็น #แคปซูลกาลเวลา (time capsule) ที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกำเนิดของระบบสุริยะ รวมถึงแหล่งที่มาของน้ำและสารประกอบอินทรีย์ที่อาจเป็นปัจจัยสำคัญต่อการก่อกำเนิดชีวิตบนโลก

จากการวิเคราะห์ตัวอย่างที่ยานโอไซริส-เรกซ์นำกลับมายังโลกได้สำเร็จเมื่อปลายปี 2566 นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบหลักฐานที่ชัดเจนว่า ตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยเบนนูนั้นอุดมไปด้วยคาร์บอนและโมเลกุลของน้ำที่ถูกกักเก็บอยู่ในแร่ธาตุ นอกจากนี้ยังพบสารอินทรีย์และกรดอะมิโนหลายชนิด ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของชีวิต การค้นพบนี้สนับสนุนแนวคิดที่ว่าดาวเคราะห์น้อยอาจมีบทบาทสำคัญในการนำพาสารตั้งต้นของชีวิตมาสู่โลกในยุคแรกเริ่ม


ข้อมูลอ้างอิง: NASA

You may also like

ภาพถ่าย 25 ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้ายามค่ำคืน ฝีมือคนไทย โดย อ.ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์

แอคติวอทช์ สเปกตรัม อุปกรณ์คู่ใจนักบินอวกาศในการติดตามการนอนหลับ

ย้อนรอย 60 ปี อาคารประกอบยานอวกาศ สู่บ้านของจรวดแซตเทิร์น 5

จำนวนเข้าชม: 22
Tags: Bennu, OSIRIS-REx, ดาวเคราะห์น้อยเบนนู, ยานอวกาศโอไซริส-เรกซ์

เรื่องยอดนิยม

  • 9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (3,908)
  • บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,295)
  • จีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,813)
  • ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,762)
  • SpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,625)

© SPACEMAN มนุษย์อวกาศ | Theme by ThemeinProgress | Proudly powered by WordPress