• เกี่ยวกับเวิร์ดเพรส
    • WordPress.org
    • เอกสารประกอบ
    • Learn WordPress
    • สนับสนุน
    • ผลตอบรับ
  • Log In
Skip to content

Menu

  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • โครงการอะพอลโล
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีจรวด
    • ความรู้รอบตัว
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ

คลังเก็บ

  • มิถุนายน 2025
  • พฤษภาคม 2025
  • เมษายน 2025
  • มีนาคม 2025
  • กุมภาพันธ์ 2025
  • มกราคม 2025
  • ธันวาคม 2024
  • พฤศจิกายน 2024
  • ตุลาคม 2024
  • กันยายน 2024
  • สิงหาคม 2024
  • กรกฎาคม 2024
  • มิถุนายน 2024
  • พฤษภาคม 2024
  • เมษายน 2024
  • มีนาคม 2024
  • กุมภาพันธ์ 2024
  • มกราคม 2024
  • พฤศจิกายน 2023
  • ตุลาคม 2023

Calendar

มิถุนายน 2025
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30  
« พ.ค.    

หมวดหมู่

  • ข่าวอวกาศ
  • คนไทยในวงการอวกาศ
  • ความรู้รอบตัว
  • ดวงจันทร์
  • ดวงอาทิตย์
  • ดาราศาสตร์
  • ดาวพฤหัสบดี
  • ดาวพุธ
  • ดาวยูเรนัส
  • ดาวศุกร์
  • ดาวอังคาร
  • ดาวเคราะห์แคระ
  • ดาวเนปจูน
  • ดาวเสาร์
  • ตำนานวงการอวกาศ
  • ทั่วไป
  • นักดาราศาสตร์
  • นักบินอวกาศ
  • นักบินอวกาศและบุคคลสำคัญ
  • ระบบสุริยะ
  • ระบบสุริยะของเรา
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
  • หน่วยงานอวกาศ
  • เทคโนโลยีจรวด
  • เทคโนโลยีอวกาศ
  • โครงการอะพอลโล
  • โลก

Copyright SPACEMAN 2025 | Theme by ThemeinProgress | Proudly powered by WordPress

SPACEMAN
  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • โครงการอะพอลโล
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีจรวด
    • ความรู้รอบตัว
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ
You are here :
  • Home
  • คนไทยในวงการอวกาศ ,
  • นักบินอวกาศและบุคคลสำคัญ
  • ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน นักวิจัยไทยผู้บุกเบิกระบบจัดการจราจรดาวเทียม หรือ “ZIRCON”
6 มิถุนายน 2025

ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน นักวิจัยไทยผู้บุกเบิกระบบจัดการจราจรดาวเทียม หรือ “ZIRCON”

คนไทยในวงการอวกาศ . นักบินอวกาศและบุคคลสำคัญ Article

ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน หรือ “ดร.คิม” เป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology Research Center – S-TREC) และผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเทคโนโลยีกิจการอวกาศ สังกัดสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านกลศาสตร์วงโคจร และเป็นหนึ่งในกำลังหลักในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทย
การศึกษา

ดร.สิทธิพร ปริญญาตรีจบการศึกษา วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จากสถานบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับทุนรัฐบาลไทย “ทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านเทคโนโลยีอวกาศและการสำรวจดาวเคราะห์ ที่ University of Surrey และระดับปริญญาเอกด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศ จาก University of Glasgow สหราชอาณาจักร

บทบาทและผลงานสำคัญ

ดร.สิทธิพรมีบทบาทสำคัญในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยและความมั่นคงทางอวกาศ (Space Safety and Security) โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังวัตถุอวกาศ (SSA) และการบริหารจัดการจราจรอวกาศ (STM) เพื่อเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการพึ่งพาตนเองด้านอวกาศ

หนึ่งในผลงานชิ้นสำคัญ คือระบบ ZIRCON (เซอร์คอน) — ระบบบริหารจัดการจราจรอวกาศที่สามารถคาดการณ์และแจ้งเตือนความเสี่ยงจากการชนกันของวัตถุอวกาศกับดาวเทียม ZIRCON ได้รับ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี ประจำปี 2568 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

ZIRCON มีบทบาทสำคัญในการลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุในวงโคจร และการปะทะที่อาจนำไปสู่ Kessler Syndrome หรือเหตุการณ์ชนกันของวัตถุอวกาศที่ลุกลามเป็นลูกโซ่ ทั้งยังช่วยให้ประเทศไทยลดการพึ่งพาข้อมูลจากต่างประเทศ เช่น Combined Space Operations Center (CSpOC) ของสหรัฐอเมริกา

ศูนย์วิจัย S-TREC และโครงการพัฒนาอื่น ๆ
ดร.สิทธิพรเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ (S-TREC) ของ GISTDA เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศใน 3 ด้านหลัก ได้แก่

1. ความปลอดภัยและความมั่นคงทางอวกาศ (Space Safety and Security)

2. การพัฒนาเทคโนโลยีการบินและอวกาศ (Aerospace and Spacecraft Technology)

3. การประยุกต์ใช้ AI กับเทคโนโลยีอวกาศ (AI for Space Applications)
โดยมีผลงานสำคัญ อาทิ:

ผลงานสำคัญของศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ (S-TREC)

1. GARNET – ระบบเฝ้าระวังและติดตามวัตถุอวกาศ (Space Object Tracking and Monitoring System)
ระบบที่ทำหน้าที่ติดตามการเคลื่อนที่และระบุตำแหน่งของวัตถุอวกาศในวงโคจร เพื่อประเมินความเสี่ยงและสนับสนุนการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ด้านอวกาศ

2. ZIRCON – ระบบบริหารจัดการจราจรอวกาศ (Space Traffic Management System)
ระบบที่ช่วยวิเคราะห์ คาดการณ์ และแจ้งเตือนความเสี่ยงจากการชนกันระหว่างวัตถุอวกาศ รวมถึงแจ้งเตือนการตกกลับของวัตถุอวกาศมายังพื้นโลกอย่างแม่นยำ

3. JASPER – ระบบพยากรณ์สภาพอวกาศ (Space Weather Forecast System)
ระบบที่ติดตามและพยากรณ์สภาพอวกาศที่อาจส่งผลกระทบต่อโลก เช่น พายุสุริยะ พร้อมทั้งให้ข้อมูลและคำแนะนำสำหรับการเตรียมรับมือภัยจากอวกาศในระดับชาติ

4. AMETHYST – ระบบบริหารจัดการจราจรอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aircraft Systems Traffic Management: UTM)

ระบบแบบครบวงจรสำหรับการจัดการโดรนในประเทศไทย โดยมีขีดความสามารถ ได้แก่

• บริการลงทะเบียนโดรนแบบ One-Stop Service (ครอบคลุมทั้ง กพท. และ กสทช.)

• ระบบขอแผนการบินและการอนุญาตใช้งาน

• การติดตามและระบุตัวตนระหว่างการบิน (Remote ID and Tracking)

5. TOPAZ – ซอฟต์แวร์ควบคุมการบินบนดาวเทียมขนาด 100–500 กิโลกรัม (Onboard Flight Software)
ทำหน้าที่เป็น “สมอง” ของดาวเทียมที่ควบคุมการทำงานบนวงโคจร โดยศูนย์วิจัยมีขีดความสามารถในการพัฒนาและทดสอบซอฟต์แวร์สำหรับดาวเทียมขนาดกลางได้อย่างเต็มรูปแบบ

6. เรดาร์สาธิตการถ่ายภาพเทคนิค SAR (Synthetic Aperture Radar Demonstrator)
ชุดสาธิตหลักการทำงานของเรดาร์ถ่ายภาพแบบสังเคราะห์ช่องเปิด (SAR) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ใช้ในดาวเทียมเรดาร์สำหรับการสังเกตการณ์โลก

7. สายอากาศแพตช์สำหรับการสื่อสารในอวกาศ (Patch Antenna for Space Communications)
ต้นแบบสายอากาศแบบแปะ (Patch Antenna) สำหรับใช้ในดาวเทียมขนาดเล็ก (CubeSat) ผลิตจากวัสดุราคาประหยัด เพื่อลดต้นทุนการพัฒนาดาวเทียมของประเทศ

8. ระบบตรวจจับโดรนแบบพาสซีฟ ( Passive Drone Detector)
ระบบตรวจจับโดรนโดยอาศัยการวิเคราะห์คลื่นความถี่วิทยุ (RF) ร่วมกับอัลกอริธึม AI เพื่อจำแนกสัญญาณของโดรนออกจากสัญญาณรบกวนอื่น ๆ อย่างแม่นยำและไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์แอคทีฟ

เกียรติประวัติและรางวัลอื่นๆ

• รางวัล Finalist: Young Technologist Awards 2022 จากงาน Outstanding Technologist Awards and TechInno Forum 2022 โดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) และมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

• ได้รับคัดเลือกเป็น นักเรียนทุนรัฐบาลไทยดาวรุ่ง ประจำปี 2564 ในสาขาวิศวกรรมอวกาศ

ผลงานของ ดร.สิทธิพร และทีม GISTDA สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการยกระดับศักยภาพของประเทศในด้านเทคโนโลยีอวกาศ ทั้งในเชิงวิจัย นวัตกรรม และความมั่นคงทางอวกาศ เพื่อรองรับอนาคตที่ไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริงบนเวทีอวกาศโลก


เครดิตภาพ: Sittiporn Channumsin
เว็บไซต์ ZIRCON: https://sapace.gistda.or.th/en/services/space-technology-research-center-s-trec/space-traffic-management/

You may also like

ชาร์ลส์ เมสสิเยร์ นักล่าดาวหางผู้สร้างบัญชีรายชื่อวัตถุเมสสิเยร์อันทรงคุณค่า

โจวันนี กัสซีนี (Giovanni Cassini) นักสำรวจผู้ยิ่งใหญ่แห่งระบบสุริยะ

“ความบังเอิญที่นำพาสู่จุดหมาย” เรื่องราวของดักลาส หว่อง วิศวกรระบบของนาซา

จำนวนเข้าชม: 64
Tags: GISTDA, Sittiporn Channumsin, Space Technology Research Center, ZIRCON, ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน, ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ

เรื่องยอดนิยม

  • 9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (3,907)
  • บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,295)
  • จีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,813)
  • ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,762)
  • SpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,625)

© SPACEMAN มนุษย์อวกาศ | Theme by ThemeinProgress | Proudly powered by WordPress