
แถบไคเปอร์ ขุมทรัพย์แห่งดาวหางและดาวเคราะห์แคระนอกระบบสุริยะ
แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) เป็นบริเวณที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ที่ด้านนอกระบบสุริยะของเรา มีบริเวณกว้าง 3,500 ล้านไมล์ ซึ่งเต็มไปด้วยก้อนวัตถุแข็งขนาดเล็กจำนวนมาก ที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็งโคจรรอบดวงอาทิตย์
บริเวณนี้มีวัตถุที่มีลักษณะคล้ายกับแถบดาวเคราะห์น้อย ที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี วัตถุที่อยู่ในแถบไคเปอร์ มีชื่อเรียกว่า วัตถุแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Object – KBO) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object – TNO)
แถบไคเปอร์ ถูกตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ เจอราร์ด ไคเปอร์ (Gerard Kuiper) ผู้บุกเบิกการศึกษาดาวเคราะห์และไขปริศนา ต้นกำเนิดระบบสุริยะ
เดิมทีวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ถูกค้นพบในแถบไคเปอร์ คือ ดาวพลูโต (Pluto) ซึ่งถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) ส่วนก้อนน้ำแข็งอื่น ๆ นั้นมีแสงริบหรี่และมองหายาก จึงถูกค้นพบในเวลาต่อมา
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) ได้มีการค้นพบวัตถุแรกในแถบไคเปอร์ ชื่อว่า 1992 QB1 และในปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุในแถบไคเปอร์แล้วมากกว่า 3,000 ชิ้น หนึ่งในวัตถุที่สำคัญคือ อีริส (Eris) ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับดาวพลูโต และเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์แคระของระบบสุริยะของเรา
นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ก้อนน้ำแข็งเหล่านี้เป็นแหล่งกำเนิดของ “ดาวหางคาบสั้น” โดยชื่อแถบไคเปอร์นี้ ได้ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ เจอราร์ด ไคเปอร์ (Gerard Peter Kuiper) ผู้ค้นพบ
นอกจากนี้ แถบไคเปอร์ยังเป็นบริเวณที่มีความสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับต้นกำเนิดและการวิวัฒนาการของระบบสุริยะ เนื่องจากวัตถุในแถบไคเปอร์ส่วนใหญ่เป็นวัตถุโบราณที่ยังคงสภาพเดิมมาตั้งแต่ยุคแรก ๆ ของการก่อตัวของระบบสุริยะ
You may also like
เรื่องยอดนิยม
9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (3,459)
บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,177)
จีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,759)
ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,716)
SpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,547)