• เกี่ยวกับเวิร์ดเพรส
    • WordPress.org
    • เอกสารประกอบ
    • Learn WordPress
    • สนับสนุน
    • ผลตอบรับ
  • Log In
Skip to content

Menu

  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • ความรู้รอบตัว
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • โครงการอะพอลโล
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ

คลังเก็บ

  • พฤษภาคม 2025
  • เมษายน 2025
  • มีนาคม 2025
  • กุมภาพันธ์ 2025
  • มกราคม 2025
  • ธันวาคม 2024
  • พฤศจิกายน 2024
  • ตุลาคม 2024
  • กันยายน 2024
  • สิงหาคม 2024
  • กรกฎาคม 2024
  • มิถุนายน 2024
  • พฤษภาคม 2024
  • เมษายน 2024
  • มีนาคม 2024
  • กุมภาพันธ์ 2024
  • มกราคม 2024
  • พฤศจิกายน 2023
  • ตุลาคม 2023

Calendar

พฤษภาคม 2025
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031  
« เม.ย.    

หมวดหมู่

  • ข่าวอวกาศ
  • คนไทยในวงการอวกาศ
  • ความรู้รอบตัว
  • ดวงจันทร์
  • ดวงอาทิตย์
  • ดาราศาสตร์
  • ดาวพฤหัสบดี
  • ดาวพุธ
  • ดาวยูเรนัส
  • ดาวศุกร์
  • ดาวอังคาร
  • ดาวเคราะห์แคระ
  • ดาวเนปจูน
  • ดาวเสาร์
  • ตำนานวงการอวกาศ
  • ทั่วไป
  • นักดาราศาสตร์
  • นักบินอวกาศ
  • นักบินอวกาศและบุคคลสำคัญ
  • ระบบสุริยะ
  • ระบบสุริยะของเรา
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
  • หน่วยงานอวกาศ
  • เทคโนโลยีอวกาศ
  • โครงการอะพอลโล
  • โลก

Copyright มนุษย์อวกาศ 2025 | Theme by ThemeinProgress | Proudly powered by WordPress

มนุษย์อวกาศ
  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • ความรู้รอบตัว
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • โครงการอะพอลโล
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ
You are here :
  • Home
  • ดาราศาสตร์ ,
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
  • เบนนู (Bennu) ดาวเคราะห์น้อยผู้เก็บรักษาความลับแห่งชีวิต?
14 มีนาคม 2025

เบนนู (Bennu) ดาวเคราะห์น้อยผู้เก็บรักษาความลับแห่งชีวิต?

ดาราศาสตร์ . สารานุกรมดาราศาสตร์ Article

ภารกิจเก็บตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยเบนนู (Bennu) โดยยานอวกาศโอซิริส-เร็กซ์ (OSIRIS-REx) ของนาซา นับเป็นก้าวสำคัญในการไขปริศนาความลับแห่งชีวิตในจักรวาล หลังจากการเดินทางอันยาวนานยานโอซิริส-เร็กซ์ได้นำตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยเบนนูกลับมายังโลกในเดือนกันยายน 2023 โดยผลการวิเคราะห์ตัวอย่างจากเบนนูสร้างความตื่นเต้นแก่วงการวิทยาศาสตร์ เมื่อพบว่ามีกรดอะมิโน ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตถึง 14 ชนิด จากทั้งหมด 20 ชนิด การค้นพบนี้จึงนำไปสู่คำถามที่น่าสนใจที่ว่า สิ่งมีชีวิตอาจมีต้นกำเนิดในอวกาศได้หรือไม่?

บันทึกแห่งอดีตกาลของระบบสุริยะ

ดาวเคราะห์น้อยเบนนู เป็นวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ และถูกจัดอยู่ในกลุ่มดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก (Near-Earth Asteroids) ซึ่งหมายความว่าวงโคจรของมันมีโอกาสเข้าใกล้โลก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเบนนูเป็นดาวเคราะห์น้อยประเภท “ไพรมิทีฟ” (Primitive) หรือดาวเคราะห์น้อยที่มีองค์ประกอบเกือบจะเหมือนเดิมกับยุคแรกเริ่มของระบบสุริยะ กล่าวคือ “เบนนู” เป็นเสมือนแคปซูลเวลาที่เก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในยุคแรกก่อกำเนิดระบบสุริยะเอาไว้ ซึ่งอาจมีความสำคัญต่อการไขปริศนาต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิต

ยานอวกาศโอซิริส-เร็กซ์ ถูกออกแบบมาเพื่อปฏิบัติภารกิจเก็บตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยเบนนูโดยเฉพาะ ยานถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศในเดือนกันยายน 2016 และเดินทางถึงเบนนูในเดือนธันวาคม 2018 หลังจากโคจรรอบดาวเคราะห์น้อยและสำรวจพื้นผิวอย่างละเอียด ในที่สุดยานโอซิริส-เร็กซ์ก็ได้ทำการเก็บตัวอย่างจากพื้นผิวของเบนนูในเดือนตุลาคม 2020 ก่อนจะเดินทางกลับสู่โลกพร้อมกับตัวอย่างอันล้ำค่าในเดือนกันยายน 2023

กรดอะมิโน กุญแจสำคัญไขความลับแห่งชีวิต  

กรดอะมิโน เป็นโมเลกุลอินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของโปรตีน ซึ่งโปรตีนเองก็เป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด การค้นพบกรดอะมิโน ในตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยเบนนู จึงเป็นหลักฐานสำคัญที่สนับสนุนแนวคิดที่ว่า องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตอาจมีต้นกำเนิดในอวกาศและถูกนำพามายังโลกโดยอุกกาบาตหรือดาวหาง

สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือกรดอะมิโนในตัวอย่างจากเบนนู มีทั้งแบบหมุนซ้าย (left-handed) และหมุนขวา (right-handed) ในปริมาณที่เท่าๆ กัน ในขณะที่สิ่งมีชีวิตบนโลกใช้กรดอะมิโนแบบหมุนซ้ายเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบคำตอบที่แน่ชัดว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แต่มีสมมติฐานว่า อาจเกี่ยวข้องกับสมบัติทางเคมี หรือปัจจัยบางอย่างในสภาพแวดล้อมของโลกยุคแรก ที่เอื้อต่อการสร้างและการทำงานของกรดอะมิโนแบบหมุนซ้ายมากกว่า

การสำรวจดาวเคราะห์น้อย ไม่เพียงแต่ช่วยให้เราเข้าใจต้นกำเนิดของระบบสุริยะ แต่ยังอาจช่วยไขปริศนาเกี่ยวกับต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตบนโลก และความเป็นไปได้ของสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่น ภารกิจโอซิริส-เร็กซ์ เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ในอนาคตจะมีภารกิจสำรวจดาวเคราะห์น้อยอีกมากมาย ที่จะช่วยเปิดเผยความลับของจักรวาลและเติมเต็มความเข้าใจของมนุษย์เกี่ยวกับโลกและสิ่งมีชีวิต


ข้อมูลอ้างอิง: NASA
– About Bennu

You may also like

ภาพถ่ายอันน่าทึ่งของกาแล็กซี Arp 184

ปรากฏการณ์ redshift (เรดชิฟต์) คืออะไร?

โครงการ Apollo 1 จุดเริ่มต้นที่แสนเศร้าของการเดินทางสู่ดวงจันทร์

จำนวนเข้าชม: 153
Tags: Bennu, OSIRIS-REx, กรดอะมิโน, ดาวเคราะห์น้อย, ดาวเคราะห์น้อยเบนนู, เบนนู

เรื่องยอดนิยม

  • 9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (3,525)
  • บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,206)
  • จีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,772)
  • ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,726)
  • SpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,570)

© SPACEMAN มนุษย์อวกาศ | Theme by ThemeinProgress | Proudly powered by WordPress