• เกี่ยวกับเวิร์ดเพรส
    • WordPress.org
    • เอกสารประกอบ
    • Learn WordPress
    • สนับสนุน
    • ผลตอบรับ
  • Log In
Skip to content
SPACEMAN

SPACEMAN

ท่องโลกดาราศาสตร์และอวกาศ

Primary Menu
  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • โครงการอะพอลโล
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีจรวด
    • ความรู้รอบตัว
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ
เพจ SPACEMAN
  • Home
  • ข่าวอวกาศ
  • ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67
  • ข่าวอวกาศ

ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67

มนุษย์อวกาศ 24 กรกฎาคม 2024
Lunar-soil-Change5

ชมดินดวงจันทร์ จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ นำมาจัดแสดงนอกประเทศจีนเป็นครั้งแรก เข้าชมฟรี ระหว่างวันที่ 22-28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ

โดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ภายใต้กระทรวง อว. ร่วมกับ องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (China National Space Administration: CNSA) ด้วยการสนับสนุนจากกลุ่มธุรกิจ TCP นำ “ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5” มาจัดแสดงในประเทศไทย ดินดังกล่าวมีชื่อว่า “หมิงเยว่จ้าวหว่อหวน” (明月照我还) มีความหมายว่า “ดวงจันทร์ส่องแสงมาที่ฉัน” น้ำหนัก 75 มิลลิกรัม ถูกจัดเก็บในคริสตัลทรงกลมรูปดวงจันทร์เต็มดวง ทำจากกระจกพิเศษที่ใช้เป็นแว่นขยายส่องดูดินดวงจันทร์ได้

สำหรับดินดวงจันทร์นี้ เก็บตัวอย่างมาจากบริเวณภูเขารึมเคอร์ของด้านใกล้ดวงจันทร์ ถูกนำกลับโลกเมื่อเดือนธันวาคม 2563 และเป็นดินชุดแรกที่ประเทศจีนนำกลับโลกได้สำเร็จ

โดยก่อนหน้านี้เคยนำไปจัดแสดงที่ปักกิ่ง นานจิง ไห่นาน และฮ่องกง ก่อนจะนำมาจัดแสดงที่ประเทศไทย นับเป็นการจัดแสดงครั้งแรกนอกประเทศจีน สำหรับดินดวงจันทร์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของตัวอย่างดินและหินดวงจันทร์จำนวน 1,731 กรัม ที่ยานฉางเอ๋อ 5 นำกลับมายังโลกเมื่อปี 2563 เพื่อใช้ศึกษาวิจัยภายใต้โครงการสถานีวิจัยนานาชาติบนดวงจันทร์ (International Lunar Research Station: ILRS) ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมในโครงการฯ อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนเมษายน 2567


ข้อมูลอ้างอิง : NARIT

จำนวนเข้าชม: 2,806

Continue Reading

Previous: คริส แฮดฟิลด์ (Chris Hadfield) นักบินอวกาศแคนาดา ชายผู้สร้างสีสันให้วงการอวกาศโลก
Next: ไอลีน คอลลินส์ (Eileen Collins) นักบินอวกาศหญิงคนแรกที่ได้บังคับยานอวกาศ

เรื่องน่าอ่าน

universesimulation
  • ข่าวอวกาศ

AI ปฏิวัติการจำลองจักรวาล สร้างแบบจำลองได้ในเสี้ยววินาที

มนุษย์อวกาศ 4 กรกฎาคม 2025
potw2525a
  • ข่าวอวกาศ

ภาพใหม่ใจกลางของกาแล็กซี UGC 11397 จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

มนุษย์อวกาศ 3 กรกฎาคม 2025
3IATLAS
  • ข่าวอวกาศ

นาซายืนยันการค้นพบดาวหางจากนอกระบบสุริยะ ดวงที่ 3 ที่โคจรผ่านระบบสุริยะของเรา

มนุษย์อวกาศ 3 กรกฎาคม 2025
Lunio-Gen4

เรื่องยอดนิยม

  • nasa_technology9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (4,540)
  • Buzz-Aldrinบัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,373)
  • CNSA-Moonจีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,837)
  • Lunar-soil-Change5ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,806)
  • Poralis-DawnSpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,670)
Copyright © All rights reserved. | MoreNews by AF themes.