• เกี่ยวกับเวิร์ดเพรส
    • WordPress.org
    • เอกสารประกอบ
    • Learn WordPress
    • สนับสนุน
    • ผลตอบรับ
  • Log In
Skip to content

Menu

  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • ความรู้รอบตัว
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • โครงการอะพอลโล
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ

คลังเก็บ

  • พฤษภาคม 2025
  • เมษายน 2025
  • มีนาคม 2025
  • กุมภาพันธ์ 2025
  • มกราคม 2025
  • ธันวาคม 2024
  • พฤศจิกายน 2024
  • ตุลาคม 2024
  • กันยายน 2024
  • สิงหาคม 2024
  • กรกฎาคม 2024
  • มิถุนายน 2024
  • พฤษภาคม 2024
  • เมษายน 2024
  • มีนาคม 2024
  • กุมภาพันธ์ 2024
  • มกราคม 2024
  • พฤศจิกายน 2023
  • ตุลาคม 2023

Calendar

พฤษภาคม 2025
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031  
« เม.ย.    

หมวดหมู่

  • ข่าวอวกาศ
  • คนไทยในวงการอวกาศ
  • ความรู้รอบตัว
  • ดวงจันทร์
  • ดวงอาทิตย์
  • ดาราศาสตร์
  • ดาวพฤหัสบดี
  • ดาวพุธ
  • ดาวยูเรนัส
  • ดาวศุกร์
  • ดาวอังคาร
  • ดาวเคราะห์แคระ
  • ดาวเนปจูน
  • ดาวเสาร์
  • ตำนานวงการอวกาศ
  • ทั่วไป
  • นักดาราศาสตร์
  • นักบินอวกาศ
  • นักบินอวกาศและบุคคลสำคัญ
  • ระบบสุริยะ
  • ระบบสุริยะของเรา
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
  • หน่วยงานอวกาศ
  • เทคโนโลยีอวกาศ
  • โครงการอะพอลโล
  • โลก

Copyright มนุษย์อวกาศ 2025 | Theme by ThemeinProgress | Proudly powered by WordPress

มนุษย์อวกาศ
  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • ความรู้รอบตัว
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • โครงการอะพอลโล
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ
You are here :
  • Home
  • ความรู้รอบตัว ,
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
  • “หินดวงจันทร์เทียม” งานวิจัยฝีมือคนไทย
25 เมษายน 2024

“หินดวงจันทร์เทียม” งานวิจัยฝีมือคนไทย

ความรู้รอบตัว . สารานุกรมดาราศาสตร์ Article

บทความโดย นายแพงมาก พุ่มมาก
สมาคมยุวชนอวกาศไทย


หินดวงจันทร์ที่กำลังจะกล่าวถึงนี้เป็นหินดวงจันทร์ที่ไม่ได้มาจาก #ดวงจันทร์ แต่เป็นการสร้างหินขึ้นมาโดยให้มีคุณสมบัติคล้ายหินดวงจันทร์ โดยอ้างอิงข้อมูลจากตัวอย่างหินดวงจันทร์ที่ถูกเก็บกลับมาในภารกิจอะพอลโล 11 และที่สำคัญคือ ผลงานนี้เป็นฝีมือของคนไทย

หินดวงจันทร์เทียม มีความคล้ายคลึงกับตัวอย่างจากยานอะพอลโล 11 เป็นอย่างมาก เมื่อนำหินที่ได้มาค้นคว้าวิจัยต่อ ก็ทำให้เกิดความหวังขึ้นว่า เราอาจจะได้ไปตั้งรกรากอยู่ที่ดวงจันทร์ได้ในอนาคต

หินหรือดินบนดวงจันทร์ที่พัฒนาในไทย มีลักษณะสำคัญหลายอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ของหินดวงจันทร์ เช่น ลักษณะของหินเป็นเม็ดหินที่มีส่วนประกอบเป็นผงขนาดเล็กมาก (ขนาด 74 ไมครอนหรือเล็กกว่า) มีความแหลมคม ซึ่งความแหลมคมนี้เคยก่อให้เกิดปัญหาต่อกระจกและแว่นของนักบินอวกาศขณะปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์ ฝุ่นติดอยู่บนชุดอวกาศได้ง่ายและทำความสะอาดยาก

นอกจากคุณลักษณะกายภาพแล้ว หินดวงจันทร์เทียมที่ทำขึ้นก็ยังมีองค์ประกอบทางเคมีที่ใกล้เคียงกับหินดวงจันทร์ที่เก็บมาจากภารกิจอะพอลโล 11 ทั้งในสัดส่วนของปริมาณแมกนิเซียม, ไทเทเนียม และซิลิกา

หินดวงจันทร์นั้นประกอบไปด้วยออกซิเจน 45 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นการต่อยอดเพื่อผลิตออกซิเจนโดยใช้หินดวงจันทร์จึงมีความเป็นไปได้ และมีปริมาณที่เพียงต่อการตั้งรกรากของมนุษย์บนดวงจันทร์ในอนาคต

แต่ออกซิเจนบนดวงจันทร์ไม่สามารถนำมาใช้ได้ทันที ต้องนำหินที่มีออกซิเจนเป็นส่วนประกอบมาสกัด โดยมี 5 ขั้นตอนหลักๆ คือ

1. การเก็บหินดวงจันทร์บนดวงจันทร์
ดวงจันทร์นั้นประกอบด้วยหินหลากหลายชนิด แต่มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่จะนำมาสกัดออกซิเจนได้ ดังนั้นเราจะต้องตรวจสอบก่อนว่ามีหินดวงจันทร์ที่มีออกซิเจนเป็นส่วนประกอบ (FeTiO2) ซึ่งสามารถนำมาใช้งานได้อยู่ที่ไหนบ้าง ส่วนกระบวนการเก็บนั้นจะใช้หุ่นยนต์

2. นำหินมาสกัด
ขั้นตอนนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการสกัดออกซิเจน ซึ่งสามารถทำได้ 3 วิธีได้แก่ Solid gas interaction, Molten electrolysis/reduction, และ Vacuum pyrolysis คาดว่าประสิทธิภาพในการดึงออกซิเจนมาจะอยู่ที่ 1-5% สำหรับ Solid gas interaction, 14-28% สำหรับ Vacuum pyrolysis และ 40% สำหรับ Molten electrolysis

3. รอให้เย็น
การสกัดหินมักจะเกิดขึ้นที่ในสภาพแวดล้อมที่มีความดันและอุณหภูมิสูงมาก ดังนั้นเราจึงต้องรอให้หินเย็นตัวลงก่อน เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและนำไปใช้

4. กักเก็บ
เมื่อผลิตเสร็จแล้วเราจะต้องนำออกซิเจนที่ได้มากักเก็บและเตรียมที่จะนำไปใช้

ถึงแม้ความเป็นไปได้ในการใช้ชีวิตอยู่บนดวงจันทร์จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เราก็ยังคงต้องเผชิญกับความยากลำบากทางด้านเทคโนโลยี จากการวิเคราะห์ในงานประชุมด้านวิชาการที่ผ่านมาพบว่า ปัญหาทางวิศวกรรมที่ยังต้องนำกลับไปขบคิด ได้แก่

▪️ ปัญหาด้านการซีลสุญญากาศ ซึ่งจะส่งผลสำคัญต่อประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน
▪️ อุณหภูมิของพื้นผิวดวงจันทร์ที่มีช่วงอุนหภูมิกว้างมาก ตั้งแต่ 100 เคลวิน ถึง 400 เคลวิน (-173 องศาเซลเซียส ถึง 127 องศาเซลเซียส) ในแต่ละวัน
▪️ ส่วนประกอบของหินหรือทรายดวงจันทร์ขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายผงขัด อาจจะนำมาซึ่งความลำบากในการใช้งาน รวมไปถึงองค์ประกอบทางเคมีที่อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละบริเวณที่สำรวจ

แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่เราจะจัดการอุปสรรคที่มีอยู่ และขึ้นไปตั้งรกรากบนดวงจันทร์ได้ในอนาคต


อ้างอิงข้อมูล
– https://www.nstda.or.th/sci2pub/artificial-moon-rock/
– https://www.youtube.com/watch?v=RrsQUx9xNJU

You may also like

ภาพถ่ายอันน่าทึ่งของกาแล็กซี Arp 184

ปรากฏการณ์ redshift (เรดชิฟต์) คืออะไร?

โครงการ Apollo 1 จุดเริ่มต้นที่แสนเศร้าของการเดินทางสู่ดวงจันทร์

จำนวนเข้าชม: 914
Tags: หินดวงจันทร์เทียม

เรื่องยอดนิยม

  • 9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (3,528)
  • บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,206)
  • จีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,772)
  • ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,726)
  • SpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,571)

© SPACEMAN มนุษย์อวกาศ | Theme by ThemeinProgress | Proudly powered by WordPress