• เกี่ยวกับเวิร์ดเพรส
    • WordPress.org
    • เอกสารประกอบ
    • Learn WordPress
    • สนับสนุน
    • ผลตอบรับ
  • Log In
Skip to content
SPACEMAN

SPACEMAN

ท่องโลกดาราศาสตร์และอวกาศ

Primary Menu
  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • โครงการอะพอลโล
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีจรวด
    • ความรู้รอบตัว
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ
เพจ SPACEMAN
  • Home
  • ข่าวอวกาศ
  • NASA ร่วมมือกับ GISTDA ศึกษาคุณภาพอากาศในไทยร่วมกัน
  • ข่าวอวกาศ

NASA ร่วมมือกับ GISTDA ศึกษาคุณภาพอากาศในไทยร่วมกัน

มนุษย์อวกาศ 15 มีนาคม 2024
Asia-AQ

เมื่อวันที่ 14 มี.ค.67 สนามบินนานาชาติ อู่ตะเภา อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา หรือ NASA ภายใต้โครงการ Airborne and Satellite Investigation of Asian Air Quality (ASIA-AQ) ร่วมกันศึกษาคุณภาพอากาศในประเทศไทย

โดยมีการจัดตั้งทีมร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ไทยเพื่อทำงานร่วมกับ NASA โดยทีมวิชาการประกอบด้วย กรมควบคุมมลพิษ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และในการบินเพื่อเก็บข้อมูลอากาศในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนการดำเนินการจากกระทรวงกลาโหมและหน่วยงานทางทหารที่เกี่ยวข้อง (กองทัพอากาศ กองทัพเรือ กรมแผนที่ทหาร), บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัดและสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT)

ภายใต้ความร่วมมือนี้จะมีการใช้ประโยชน์ที่ได้จากการสำรวจทางอากาศ การสำรวจด้วยดาวเทียม รวมถึงภาคพื้นดินเพื่อนำมาบูรณาการในการแก้ไขปัญหา การจัดการและลดมลพิษทางอากาศเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยต่อไป

โครงการ Airborne and Satellite Investigation of Asian Air Quality เป็นโครงการที่ริเริ่มโดย NASA เพื่อร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ศึกษาปัญหาคุณภาพอากาศในเอเซีย โดย NASA จะทำงานร่วมกับหน่วยงานในภูมิภาคเพื่อรวบรวมข้อมูลสำหรับการศึกษาด้านอากาศโดยใช้เครื่องบิน สถานีภาคพื้นดิน และดาวเทียมสำรวจ


ข้อมูลอ้างอิง

  • กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
  • โครงการ ASIA-AQ
จำนวนเข้าชม: 2,222

Continue Reading

Previous: สุดยอด 3 ไอเดียของเยาวชนไทย ได้ทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ
Next: กาแล็กซีรูปกังหัน NGC 4921

เรื่องน่าอ่าน

16 Psyche
  • ข่าวอวกาศ

ดาวเคราะห์น้อยไซคี ขุมทรัพย์โลหะมูลค่ามหาศาล อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก

มนุษย์อวกาศ 7 กรกฎาคม 2025
tianwen2-Earth
  • ข่าวอวกาศ

ยานเทียนเหวิน 2 เผยภาพโลกและดวงจันทร์ ขณะมุ่งหน้าสู่ดาวเคราะห์น้อย

มนุษย์อวกาศ 7 กรกฎาคม 2025
NewHorizon
  • ข่าวอวกาศ

ยานสำรวจนิวฮอไรซันส์สร้างประวัติศาสตร์! ทดสอบการนำร่องด้วยดวงดาวในอวกาศห้วงลึกได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

มนุษย์อวกาศ 6 กรกฎาคม 2025
Lunio-Gen4

เรื่องยอดนิยม

  • nasa_technology9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (4,657)
  • Buzz-Aldrinบัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,391)
  • CNSA-Moonจีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,854)
  • Lunar-soil-Change5ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,819)
  • Poralis-DawnSpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,687)
Copyright © All rights reserved. | MoreNews by AF themes.