• เกี่ยวกับเวิร์ดเพรส
    • WordPress.org
    • เอกสารประกอบ
    • Learn WordPress
    • สนับสนุน
    • ผลตอบรับ
  • Log In
Skip to content
SPACEMAN

SPACEMAN

ท่องโลกดาราศาสตร์และอวกาศ

Primary Menu
  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • โครงการอะพอลโล
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีจรวด
    • ความรู้รอบตัว
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ
เพจ SPACEMAN
  • Home
  • ข่าวอวกาศ
  • เกาะโอเนโกตัน มุมมองจากอวกาศ
  • ข่าวอวกาศ

เกาะโอเนโกตัน มุมมองจากอวกาศ

มนุษย์อวกาศ 6 ธันวาคม 2024
Onekotan Island

ภาพถ่ายจากนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2023 ขณะโคจรเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ เผยให้เห็นเกาะโอเนโกตัน (Onekotan Island) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะคูริล ทอดยาวระหว่างคาบสมุทรคัมชัตกาในรัสเซีย ไปจนถึงเกาะฮอกไกโดในญี่ปุ่น ภาพนี้แสดงให้เห็นภูเขาไฟเครนิทสินา ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะ

มุมมองเฉียงต่ำของภาพถ่ายช่วยเน้นย้ำลักษณะภูมิประเทศ โดยเฉพาะหน้าผา แนวชายฝั่งและเทือกเขา ภาพนี้ถูกหมุน (ทิศเหนืออยู่ด้านล่าง) เพื่อลดผลกระทบจากภาพลวงตาที่เรียกว่า “การกลับด้านของภาพนูนต่ำ”

แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด (caldera) ที่เห็นในภาพ คือ ซาร์-รูซีร์ (Tsar-Rusyr) เกิดจากการยุบตัวของพื้นดิน ลงสู่ห้องแมกมาที่ว่างเปล่าบางส่วนระหว่างการปะทุครั้งใหญ่ แอ่งนี้ล้อมรอบด้วยหน้าผาสูงชัน 300 เมตร ซึ่งทอดเงาไปตามขอบด้านตะวันออกของภูเขาไฟ

ภายในแอ่งภูเขาไฟเป็นที่ตั้งของทะเลสาบคอลเซโวเย (Kol’tsevoye) สีฟ้าสดใส ตัดกับภูมิทัศน์ฤดูร้อนโดยรอบ ทะเลสาบแห่งนี้มีความลึกถึง 370 เมตร เป็นหนึ่งในทะเลสาบที่ลึกที่สุดในรัสเซีย พื้นผิวน้ำสะท้อนแสงอาทิตย์กลับมายังกล้อง เกิดเป็นแสงระยิบระยับและยังสะท้อนภาพเมฆที่ลอยอยู่เหนือยอดเขา

ตรงกลางแอ่งภูเขาไฟ คือยอดเขาเครนิทสินา สูงประมาณ 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล เนินเขาของภูเขาไฟรูปกรวยสลับชั้นแห่งนี้ ประกอบด้วยหุบเขาและสันเขาสีเข้ม เกิดจากการไหลของลาวาและกระบวนการกัดเซาะ ทอดยาวไปจนถึงทะเลสาบคอลเซโวเย การปะทุครั้งสุดท้ายของภูเขาไฟแห่งนี้เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1952 จัดอยู่ในระดับ “ปานกลาง” ด้วยดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ (VEI) เท่ากับ 3

ทางตะวันตกของแอ่งภูเขาไฟ จะเห็นเทือกเขาทางด้านขวาของภาพ ภูมิประเทศที่ขรุขระนี้ตัดกับฝั่งตรงข้ามของแอ่งภูเขาไฟ ซึ่งภูมิประเทศราบเรียบลงจนถึงมหาสมุทรแปซิฟิก ยังคงมีหิมะและน้ำแข็งปกคลุมเป็นหย่อมๆ ตามหุบเขาระหว่างเทือกเขากับแนวชายฝั่ง


เครดิตภาพและข้อมูล : NASA/JSC
– Gateway to Astronaut Photography of Earth

จำนวนเข้าชม: 248

Continue Reading

Previous: ภาพมุมมองของขั้วเหนือดาวอังคาร
Next: NASA ประกาศเลื่อนภารกิจ Artemis 2 ไปเป็นปี ค.ศ. 2026 และ Artemis 3 ไปเป็นกลางปี ค.ศ. 2027

เรื่องน่าอ่าน

Neuclear-Sat
  • ข่าวอวกาศ

กองทัพอวกาศสหรัฐฯ ทุ่ม 2,400 ล้านเหรียญ จ้างสร้างดาวเทียมควบคุมสั่งการนิวเคลียร์ยุคใหม่

มนุษย์อวกาศ 9 กรกฎาคม 2025
Thea
  • ข่าวอวกาศ
  • โลก

จุดเริ่มต้นที่เอื้อต่อการกำเนิดสิ่งมีชีวิต เมื่อดาวเคราะห์ธีอาพุ่งชนโลก

มนุษย์อวกาศ 9 กรกฎาคม 2025
ESO 591-12
  • ข่าวอวกาศ

ฮับเบิลเผยโฉมกระจุกดาวที่หายไป ส่องอดีตยุคก่อร่างสร้างตัวของกาแล็กซีทางช้างเผือก

มนุษย์อวกาศ 9 กรกฎาคม 2025
Lunio-Gen4

เรื่องยอดนิยม

  • nasa_technology9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (4,683)
  • Buzz-Aldrinบัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,393)
  • CNSA-Moonจีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,855)
  • Lunar-soil-Change5ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,819)
  • Poralis-DawnSpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,689)
Copyright © All rights reserved. | MoreNews by AF themes.