เนบิวลาดาวเคราะห์ Abell 7 (อะเบลล์ เซเว่น) อยู่ห่างจากโลกประมาณ 1,800 ปีแสง ในกลุ่มดาวกระต่ายป่า (Lepus) ทางใต้ของกลุ่มดาวนายพราน (Orion) มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 ปีแสง ด้วยรูปร่างทรงกลมที่เรียบง่าย ทำให้มันโดดเด่นท่ามกลางดวงดาวของทางช้างเผือกและกาแล็กซีพื้นหลังอันไกลโพ้น

ภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้การเปิดรับแสงเป็นเวลานาน ร่วมกับฟิลเตอร์แถบแคบที่จับการปล่อยแสงจากอะตอมไฮโดรเจน (Hydrogen), ซัลเฟอร์ (Sulfur) และออกซิเจน (Oxygen) เผยให้เห็นโครงสร้างที่สวยงามและซับซ้อนภายในเมฆคอสมิกนี้ หากไม่มีเทคนิคเหล่านี้ Abell 7 จะจางเกินกว่าจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

เนบิวลาดาวเคราะห์ก็เหมือนตอนจบของชีวิตดาวฤกษ์ ซึ่งดวงอาทิตย์ของเราก็จะถึงจุดนั้นในอีก 5,000 ล้านปีข้างหน้า ตอนที่ดาวฤกษ์หมดอายุขัย มันจะพ่นเปลือกนอกของตัวเองออกมา ซึ่ง Abell 7 เกิดจากดาวฤกษ์ที่หมดอายุขัยมาประมาณ 20,000 ปีแล้ว แต่ใจกลางของมันที่ตอนนี้เหลือแต่ดาวแคระขาว มีอายุยืนยาวถึง 10,000 ล้านปีเลยทีเดียว


เครดิตภาพ: Vikas Chander
– Planetary Nebula Abell 7