
หัตถ์แห่งเมฆหมอกในแคสซิโอเปีย (Cassiopeia)
ภาพถ่ายนี้น่าพิศวงราวกับมี “มือยักษ์” คอยประคองเมฆหมอกอวกาศอันไกลโพ้น
กลุ่มเมฆหมอกที่เห็นอยู่นี้เป็นเนบิวลามืด ซึ่งก็คือ กลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองขนาดมหึมาในอวกาศ มีความหนาแน่นสูงมากจนบดบังแสงจากดาวฤกษ์เบื้องหลัง ทำให้เรามองเห็นเป็นเงามืดตัดกับความสว่างของดาวฤกษ์ กลุ่มเมฆหมอกเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของ “แหล่งกำเนิดดวงดาว” ในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา ประกอบด้วย LDN 1358, 1357 และ 1355 ซึ่งเป็นชื่อเรียกตามแคตตาล็อกเนบิวลามืดของนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน เบเวอร์ลี ลินด์ส (Beverly Lynds) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962
แม้จะอยู่ไกลจากโลกถึง 3,000 ปีแสง ในกลุ่มดาวแคสซิโอเปีย แต่ด้วยกล้องโทรทรรศน์ Takahashi FSQ-106ED พร้อมกล้อง CCD ที่ ฟรันเชสโก ราดิชี (Francesco Radici) ช่างภาพดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ใช้บันทึกภาพนี้ เราจึงสามารถมองเห็นรายละเอียดของเนบิวลามืดเหล่านี้ได้อย่างน่าทึ่ง โดยภาพนี้ครอบคลุมพื้นที่ในอวกาศกว้างถึง 80 ปีแสงเลยทีเดียว
เครดิตภาพ: Francesco Radici
You may also like
เรื่องยอดนิยม
9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (3,460)
บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,178)
จีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,760)
ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,716)
SpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,549)