
เปลวเพลิงแห่งการก่อกำเนิดดาว กล้องฮับเบิลและเวบบ์ร่วมสำรวจเนบิวลาเปลวเพลิง
ภาพชุดนี้เผยให้เห็นความงามของเนบิวลาเปลวเพลิง (Flame Nebula) ผ่านคลื่นแสงอินฟราเรดใกล้ โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) บันทึกภาพกว้างทางด้านซ้าย ในขณะที่ภาพแทรกสองภาพทางด้านขวาแสดงให้เห็นมุมมองอินฟราเรดใกล้ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (James Webb Space Telescope) ในบริเวณที่มีฝุ่นหนาแน่นสองแห่งภายในเนบิวลา เผยให้เห็นรายละเอียดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
เนบิวลาเปลวเพลิง หรือ NGC 2024 เป็นบริเวณที่มีการก่อตัวของดาวฤกษ์อย่างเข้มข้น ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวนายพราน (Orion) ห่างจากโลกประมาณ 1,350 ปีแสง สิ่งที่ทำให้เนบิวลานี้มีลักษณะคล้ายเปลวเพลิงคือฝุ่นก๊าซที่เรืองแสงเมื่อได้รับความร้อนจากดาวฤกษ์เกิดใหม่จำนวนมากที่อยู่ภายใน ซึ่งดาวแคระน้ำตาลถือกำเนิดขึ้นเช่นเดียวกับดาวฤกษ์ทั่วไป คือจากการยุบตัวของกลุ่มก๊าซและฝุ่นในเมฆโมเลกุล
แต่เนื่องจากดาวแคระน้ำตาลมีมวลไม่มากพอที่จะจุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันในแกนกลางได้ มันจึงไม่สามารถส่องแสงเจิดจ้าเช่นดาวฤกษ์ทั่วไป และมีอุณหภูมิที่เย็นกว่ามาก ซึ่งทำให้ตรวจจับได้ยาก เวบบ์ได้ส่องกล้องไปยังกลุ่มเมฆโมเลกุลโอไรออน เพื่อตามหาร่องรอยของดาวแคระน้ำตาลที่จางและเล็กที่สุด เมื่อพวกมันยังอายุน้อยจะมีความอบอุ่นและสว่างกว่า ทำให้สังเกตได้ง่ายขึ้น
เนบิวลาเปลวเพลิงจึงเป็นเสมือนห้องทดลองทางดาราศาสตร์ที่ช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจธรรมชาติและวิวัฒนาการของดาวแคระน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้น
เครดิตภาพ: NASA, ESA, CSA, STScI
– NASA’s Webb Peers Deeper into Mysterious Flame Nebula
You may also like
เรื่องยอดนิยม
9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (3,460)
บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,179)
จีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,760)
ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,716)
SpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,549)