• เกี่ยวกับเวิร์ดเพรส
    • WordPress.org
    • เอกสารประกอบ
    • Learn WordPress
    • สนับสนุน
    • ผลตอบรับ
  • Log In
Skip to content
SPACEMAN

SPACEMAN

ท่องโลกดาราศาสตร์และอวกาศ

Primary Menu
  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • โครงการอะพอลโล
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีจรวด
    • ความรู้รอบตัว
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ
เพจ SPACEMAN
  • Home
  • ข่าวอวกาศ
  • ทีมซินแท็กซ์ไวยากรณ์ คว้าแชมป์ Kibo Robot Programming Challenge ครั้งที่ 6 เตรียมแข่งต่อรอบนานาชาติที่ศูนย์อวกาศญี่ปุ่น
  • ข่าวอวกาศ

ทีมซินแท็กซ์ไวยากรณ์ คว้าแชมป์ Kibo Robot Programming Challenge ครั้งที่ 6 เตรียมแข่งต่อรอบนานาชาติที่ศูนย์อวกาศญี่ปุ่น

มนุษย์อวกาศ 15 กรกฎาคม 2025
Banner_6th Kobo-03

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกาศผลการแข่งขัน “The 6th Kibo Robot Programming Challenge” โดยทีมที่คว้าชัยชนะเลิศได้แก่ ทีมซินแท็กซ์ไวยากรณ์ (Syntax Waiyakorn) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของนักศึกษาจาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันรอบชิงแชมป์นานาชาติในภารกิจเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ แอสโตรบี (Astrobee) บน สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ณ ศูนย์อวกาศสึกุบะ ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนพฤศจิกายน 2568 นี้

การแข่งขันรอบชิงแชมป์ประเทศไทยซึ่งจัดโดย สวทช. ร่วมกับองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) และหน่วยงานพันธมิตร มีเยาวชนให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมมากถึง 208 ทีม ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดในบรรดาประเทศผู้จัดทั้งหมด โจทย์การแข่งขันในปีนี้คือการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ในระบบจำลองเพื่อค้นหาสมบัติที่ซ่อนอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า การแข่งขันนี้ช่วยส่งเสริมทักษะที่จำเป็นแห่งศตวรรษที่ 21 และเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างบุคลากรคุณภาพเพื่อพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต สำหรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีมคิดไม่ออก จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรองชนะเลิศอันดับ 2 คือ ทีมมาเล่นแต่เอาจริง จาก ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและจุฬาฯ

สำหรับทีมซินแท็กซ์ไวยากรณ์ ตัวแทนประเทศไทย จะได้เข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงแชมป์นานาชาติร่วมกับเยาวชนอีก 11 ชาติ นอกจากการแข่งขันแล้ว เยาวชนไทยยังจะได้รับประสบการณ์ล้ำค่าจากการเยี่ยมชมศูนย์อวกาศสึกุบะ ซึ่งเป็นศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและฝึกฝนนักบินอวกาศของญี่ปุ่น และมีโอกาสได้พบปะกับนักบินอวกาศอีกด้วย ซึ่งประสบการณ์ครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนที่เชื่อมั่นว่า จะเป็นการลงทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านอวกาศและเทคโนโลยีของไทยให้ยั่งยืน ผู้ที่สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวและส่งกำลังใจให้ทีมตัวแทนประเทศไทยได้ที่เฟซบุ๊กของ NSTDA SPACE Education


ข้อมูลอ้างอิง: สวทช.

จำนวนเข้าชม: 15

Continue Reading

Previous: LIGO ตรวจพบการรวมตัวของหลุมดำครั้งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ ท้าทายความเข้าใจเดิมของนักดาราศาสตร์
Next: นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนาสุริยะ 400 ปี เผยความลับเสถียรภาพของจุดดับบนดวงอาทิตย์

เรื่องน่าอ่าน

Sunspot
  • ข่าวอวกาศ
  • ดวงอาทิตย์
  • ระบบสุริยะ

นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนาสุริยะ 400 ปี เผยความลับเสถียรภาพของจุดดับบนดวงอาทิตย์

มนุษย์อวกาศ 15 กรกฎาคม 2025
Massive Black Hole
  • ข่าวอวกาศ

LIGO ตรวจพบการรวมตัวของหลุมดำครั้งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ ท้าทายความเข้าใจเดิมของนักดาราศาสตร์

มนุษย์อวกาศ 15 กรกฎาคม 2025
Ali Observatory
  • ข่าวอวกาศ

จีนเปิดฉากภารกิจกล้องโทรทรรศน์ใหม่ เริ่มการค้นหาระลอกคลื่นแรกสุดของจักรวาล

มนุษย์อวกาศ 14 กรกฎาคม 2025
Lunio-Gen4

เรื่องยอดนิยม

  • nasa_technology9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (4,817)
  • Buzz-Aldrinบัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,416)
  • CNSA-Moonจีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,858)
  • Lunar-soil-Change5ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,826)
  • Poralis-DawnSpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,709)
Copyright © All rights reserved. | MoreNews by AF themes.