
ทำไมนักบินอวกาศตอนเข้านอนถึงต้องยืนหลับ ?
เมื่อเราอยู่ในท่ายืนบนโลก แรงโน้มถ่วงจะดึงร่างกายเราลงมา นั่นหมายถึง ศีรษะของเราจะกดลงบนคอ และคอของเราก็จะกดลงบนลำตัวของเรา ลำตัวของเราก็จะกดลงบนขาของเรา และขาของเราก็จะกดลงบนเท้าของเราอีกที เมื่อเราต้องการพักผ่อนนอนหลับจึงต้องนอนลงราบกับพื้น เพราะการทำเช่นนี้เป็นการกระจายน้ำหนักไปทั่วร่างกาย ซึ่งช่วยลดความเครียดบริเวณส่วนล่างของร่างกายได้มาก
นอกจากนี้เรายังนอนราบลงเพราะทำให้เราอยู่ในตำแหน่งที่มั่นคง เราจึงไม่ต้องกังวลกับการเสียการทรงตัวและการล้มเมื่อเราหลับเพราะร่างกายไม่ต้องรักษาสมดุล
แต่ในสถานีอวกาศที่กำลังโคจรอยู่รอบโลก นักบินอวกาศอยู่ในช่วงการตกอย่างอิสระ (Free fall) พบกับสภาวะไร้น้ำหนัก ร่างกายไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการรับน้ำหนักจากตำแหน่งแนวตั้งไปเป็นแนวนอน ทำให้ไม่รู้สึกถึงการกดทับส่วนของร่างกาย
ดังนั้นการนอนของนักบินอวกาศ ควรอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับห้องที่มีอยู่มากที่สุด สามารถนอนได้ทั้งแนวราบหรือยืนหลับก็สามารถทำได้โดยไม่มีผลกระทบอะไรต่อร่างกาย
ข้อมูลอ้างอิง : Children’s Museum Indianapolis
You may also like
เรื่องยอดนิยม
9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (3,460)
บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,180)
จีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,762)
ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,718)
SpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,551)