อาเรียน (Ariane) ของ #องค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency) เป็นจรวดสำหรับส่งดาวเทียม โดย Ariane 4 เป็นจรวดหลักที่ใช้งานในระหว่างปี ค.ศ. 1988 ถึง ค.ศ. 2003 ส่งดาวเทียมได้สำเร็จถึง 113 ครั้ง ส่วน Ariane 5 ที่เพิ่งปลดระวางไป ทำสถิติในการส่งดาวเทียมโทรคมนาคมที่มีขนาดน้ำหนักมากที่สุด (เกือบ 6,500 กิโลกรัม) คือ การส่ง #ดาวเทียมไทยคม 4 ไอพีสตาร์ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548

จรวด Ariane 5 ซึ่งถือเป็นจรวดชั้นเยี่ยมที่สามารถนำส่งดาวเทียมได้ทุกประเภท โดยจรวดรุ่นนี้แบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ จรวดอาเรียน 5 อีซีเอ (Ariane 5 ECA) ซึ่งนำส่งสัมภาวะได้มากกว่า 10 ตัน ขึ้นสูงวงโคจรค้างฟ้า (Geostationary transfer orbit) และจรวดอาเรียน 5 อีเอส (Ariane 5 ES) ซึ่งเหมาะสำหรับการนำส่งในวงโคจรต่ำและวงโคจร เช่น การให้บริการนำส่งสู่ #สถานีอวกาศนานาชาติ หรือ การนำส่งดาวเทียมระบุพิกัด

จรวด Ariane 5 มีความสูงประมาณ 17 เมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก 5.4 เมตร จึงนับเป็นจรวดที่ค่อนข้างใหญ่สำหรับการนำส่งดาวเทียมเชิงพาณิชย์ โดยสามารถนำส่งดาวเทียมที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ทุกประเภท รวมถึงดาวเทียมที่พัฒนาขึ้นในอนาคตด้วย และใช้เวลาไต่สู่ #วงโคจรค้างฟ้า 25-35 นาที ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการแยกชิ้นส่วนระหว่างไต่วงโคจร

ส่วนจรวด Ariane 6 เป็นจรวดรุ่นใหม่ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) มีความสูง 60 เมตร อยู่ในระหว่างการพัฒนามาตั้งแต่ปี 2010 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะมาแทนที่จรวด Ariane 5 ที่ปัจจุบันถูกปลดระวางไปแล้ว

เมื่อเทียบกับจรวด Ariane 5 แล้ว จรวด Ariane 6 ใช้ต้นทุนน้อยกว่ามาก ถึงหนึ่งเท่าตัว จะสามารถเพิ่มจำนวนการยิงจรวดต่อปีได้จาก 6 ถึง 7 ครั้ง ต่อปี เป็นมากถึง 11 ครั้งต่อปี รองรับการบรรจุดาวเทียมจำนวนมาก เพื่อปล่อยดาวเทียมในวงโคจรต่ำในรูปแบบกลุ่มโครงข่ายดาวเทียม

เมื่อผ่านขั้นตอนการทดสอบทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว จรวด Ariane 6 จะถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกได้ ในช่วงเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคม พ.ศ. 2568


 อ้างอิงข้อมูล: https://www.ariane.group/en/about-us/our-history/