กุ้ย ไห่เฉา (Gui Haichao) #นักบินอวกาศจีน ผู้ที่ใช้การเรียนหนังสือเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองไปตลอดกาล

เมื่อตอนอายุ 6 ขวบ เขายังเป็นเพียงเด็กเลี้ยงควายในมณฑลยูนนานทางภาคใต้ของจีน ที่ชื่นชอบการมองดูดวงดาวยามค่ำคืน

ตอนเรียนมัธยมปลายในปี 2546 กุ้ย ไห่เฉา ได้ดูข่าวจีนส่งยานอวกาศเสินโจว-5 โดยส่งนักบินอวกาศจีนคนแรก ขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ สร้างแรงบันดาลใจให้เขาเป็นอย่างมาก

ในปีต่อมา เขาจึงได้สมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยการบินและอวกาศปักกิ่ง โดยสอบได้คะแนนสูงสุดด้านเทคโนโลยี

หลังจากจบปริญญาเอกได้ไปศึกษาต่อต่างประเทศ และมีผลงานทางวิชาการมากกว่า 20 ฉบับ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารระดับโลก

ในที่สุดวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 จีนส่งยานอวกาศเสินโจว-16 มีนักบินอวกาศชุดใหม่จำนวน 3 คน ซึ่งมี กุ้ย ไห่เฉา เป็นนักวิทยาศาสตร์จีนคนแรกที่ได้ขึ้นสถานีอวกาศจีน โดยมีหน้าที่รับผิดชอบการทดลองต่าง ๆ บนสถานีอวกาศ

ต่อมาในปี 2561 กุ้ย ไห่เฉา มีอายุได้ 31 ปี กลายเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาปริญญาเอก ในมหาวิทยาลัยการบินอวกาศปักกิ่ง และยังเป็นนักบินอวกาศสำรองอีกด้วย

และเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2566 ในวันแรกของภาคการศึกษาใหม่ นักบินอวกาศเสินโจว-16 ในสถานีอวกาศเทียนกงของจีนได้เชื่อมต่อวิดีโอกับนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาไล่ตามความฝัน โดย จู หยางจู้ (Zhu Yangzhu) วิศวกรการบินอวกาศคนแรกของประเทศ กล่าวสนับสนุนให้นักเรียนสร้างแรงจูงใจในตนเอง ส่วน กุ้ย ไห่เฉา นักบินอวกาศพลเรือนคนแรกของประเทศ ได้กล่าวถึงความสำคัญของความต้องการที่จะเรียนรู้และวิธีที่จะนำไปสู่อาชีพในอวกาศได้ และจิง ไห่เผิง (Jing Haipeng) ผู้บัญชาการภารกิจเสินโจว-16 ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเตรียมพร้อมและความอุตสาหะเพื่อบรรลุความฝัน


ข้อมูลจาก China Daily