• เกี่ยวกับเวิร์ดเพรส
    • WordPress.org
    • เอกสารประกอบ
    • Learn WordPress
    • สนับสนุน
    • ผลตอบรับ
  • Log In
Skip to content

SPACEMAN

มนุษย์อวกาศ​ พาท่องโลกดาราศาสตร์และอวกาศ

Primary Menu
  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • โครงการอะพอลโล
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีจรวด
    • ความรู้รอบตัว
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ
Follow us
  • Home
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
  • ดาวพฤหัสบดี ยักษ์ใหญ่ที่ไม่อาจเป็นดาวฤกษ์
  • ความรู้รอบตัว
  • สารานุกรมดาราศาสตร์

ดาวพฤหัสบดี ยักษ์ใหญ่ที่ไม่อาจเป็นดาวฤกษ์

มนุษย์อวกาศ 15 ตุลาคม 2024
jupiter-star

ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะของเรา มีมวลมากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ รวมกัน หลายคนอาจคิดว่าด้วยขนาดที่ใหญ่โตมโหฬารเช่นนี้ ดาวพฤหัสบดีน่าจะสามารถเป็นดาวฤกษ์ได้ แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย!

แม้ดาวพฤหัสบดีจะมีขนาดใหญ่และประกอบด้วยก๊าซเป็นส่วนมากเหมือนดาวฤกษ์ แต่การจะเป็นดาวฤกษ์ได้นั้น ต้องมีมากกว่าแค่ขนาด ซึ่งหัวใจสำคัญของการเป็นดาวฤกษ์คือ “การหลอมนิวเคลียร์” กระบวนการที่อะตอมชนกันและปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมา ทำให้ดาวฤกษ์ส่องแสงและแผ่ความร้อนได้

แต่การจะเริ่มต้นกระบวนการหลอมนิวเคลียร์ได้นั้น ต้องอาศัยแรงดันและอุณหภูมิที่สูงมาก ซึ่งขึ้นอยู่กับมวลสารภายใน แม้ดาวพฤหัสบดีจะมีมวลมาก แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะบีบอัดแกนกลางให้เกิดความร้อนที่เพียงพอต่อการจุดชนวนการหลอมนิวเคลียร์ แกนกลางของดาวพฤหัสบดีมีอุณหภูมิประมาณ 15,000 องศาเซลเซียส ซึ่งฟังดูร้อนมาก แต่เทียบไม่ได้กับแกนกลางของดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านองศาเซลเซียส!

นักวิทยาศาสตร์คำนวณว่า หากดาวพฤหัสบดีต้องการเป็นดาวฤกษ์จริงๆ ที่สามารถหลอมไฮโดรเจนแบบปกติได้ มันต้องมีมวลมากกว่าปัจจุบันถึง 83-85 เท่า

แล้วดาวพฤหัสบดีจะหามวลสารเพิ่มได้จากไหน? การกลืนกินดาวเคราะห์หรือดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นๆ เป็นไปไม่ได้ เพราะจะทำให้ระบบสุริยะปั่นป่วน แม้ว่าจะทำได้จริง ก็ต้องใช้เวลานานมาก กว่าที่ดาวพฤหัสบดีจะใหญ่พอ ดวงอาทิตย์อาจจะดับสูญไปแล้วก็ได้

ด้วยเหตุนี้ ดาวพฤหัสบดีจึงต้องจำใจเป็นดาวเคราะห์ต่อไป แถมยังเป็นดาวเคราะห์ที่ไม่ค่อยน่าพิศมัยเท่าไหร่นัก เพราะไม่มีพื้นผิวที่แข็ง ไม่มีสิ่งมีชีวิต และเต็มไปด้วยพายุที่รุนแรง แต่ดาวพฤหัสบดีก็มีดวงจันทร์บริวารมากมาย ซึ่งบางดวงก็น่าสนใจยิ่งกว่าดาวพฤหัสบดีเสียอีก


ข้อมูลอ้างอิง

  •  NASA Science
    Jupiter: Facts
  • Astronomy.com
    Why is Jupiter not a star or a brown dwarf?
  • BBC Science Focus
    Could Jupiter become a star?
จำนวนเข้าชม: 220

Continue Reading

Previous: จรวด Falcon Heavy พา Europa Clipper สู่ภารกิจไขปริศนาชีวิตบนดวงจันทร์น้ำแข็ง
Next: รังสีคอสมิกในอวกาศ ภัยอันตรายที่มองไม่เห็น

เรื่องน่าอ่าน

25 Brightest Stars
  • ความรู้รอบตัว
  • สารานุกรมดาราศาสตร์

ภาพถ่าย 25 ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้ายามค่ำคืน ฝีมือคนไทย โดย อ.ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์

มนุษย์อวกาศ 12 มิถุนายน 2025
Actiwatch Spectrum nasa
  • ความรู้รอบตัว
  • สารานุกรมดาราศาสตร์

แอคติวอทช์ สเปกตรัม อุปกรณ์คู่ใจนักบินอวกาศในการติดตามการนอนหลับ

มนุษย์อวกาศ 11 มิถุนายน 2025
Aerial view of the Vehicle Assembly Building
  • ความรู้รอบตัว
  • สารานุกรมดาราศาสตร์

ย้อนรอย 60 ปี อาคารประกอบยานอวกาศ สู่บ้านของจรวดแซตเทิร์น 5

มนุษย์อวกาศ 11 มิถุนายน 2025

เรื่องยอดนิยม

  • nasa_technology9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (3,925)
  • Buzz-Aldrinบัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,298)
  • CNSA-Moonจีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,813)
  • Lunar-soil-Change5ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,762)
  • Poralis-DawnSpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,626)
Copyright © All rights reserved. | MoreNews by AF themes.