
จริงหรือไม่ ? ดาวพุธอาจเคยมีขนาดใหญ่เท่ากับโลก
นักวิทยาศาสตร์เผยทฤษฎีที่น่าสนใจที่ว่า ดาวพุธ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะของเรา มีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์เพียงเล็กน้อย ครั้งหนึ่งอาจเคยมีขนาดใหญ่เท่ากับโลก เพราะนักวิทยาศาสตร์ประหลาดใจมานานแล้ว เกี่ยวกับความหนาแน่นสูงผิดปกติของดาวพุธ ซึ่งบ่งชี้ว่าน่าจะมีแกนที่เป็นเหล็ก และอาจเป็นเหล็กหลอมละลายบางส่วน เช่นเดียวกับแกนของโลก
งานวิจัยใหม่เสนอว่า ดาวพุธอาจมีชั้นบรรยากาศและมหาสมุทรหนาทึบคล้ายกับโลก และก่อตัวขึ้นที่ระยะทางที่ไกลมากกว่าปัจจุบันจากดวงอาทิตย์ ในระยะที่ใกล้เคียงกับดาวอังคาร และอาจจะมีมวลขนาดเท่ากับโลก
มีการตั้งสมมติฐานว่า ในบางช่วงของประวัติศาสตร์ ดาวพุธพุ่งชนกับอีกวัตถุอื่นทำให้มันโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ การชนกันครั้งนั้นอาจส่งผลให้เปลือกและชั้นแมนเทิลส่วนใหญ่ของดาวพุธหลุดลอยไป แต่แกนกลางขนาดใหญ่ที่เป็นของเหลวกลับยังคงอยู่
นอกจากนั้น ลมสุริยะที่รุนแรงและปัจจัยอื่นๆ อาจทำให้ชั้นนอกของดาวพุธหลุดออกไป กลายเป็นดาวเคราะห์ที่หดตัวและมีแกนกลางขนาดใหญ่อย่างไม่สมส่วน
การทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ของดาวพุธ สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเกี่ยวกับระบบสุริยะในยุคแรกเริ่มและสภาวะที่นำไปสู่การก่อตัวของดาวเคราะห์หินเช่นโลก
ภารกิจการวิจัยและสำรวจเพิ่มเติมด้วยยานสำรวจดาวพุธเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อยืนยันทฤษฎีนี้และคลี่คลายความลึกลับในอดีตของดาวพุธ
อ้างอิงข้อมูล
https://www.bbc.com/future/article/20240410-mercury-the-solar-systems-smallest-planet-may-once-have-been-as-large-as-earth
You may also like
เรื่องยอดนิยม
9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (3,459)
บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,178)
จีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,760)
ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,716)
SpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,547)