• เกี่ยวกับเวิร์ดเพรส
    • WordPress.org
    • เอกสารประกอบ
    • Learn WordPress
    • สนับสนุน
    • ผลตอบรับ
  • Log In
Skip to content

Menu

  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • โครงการอะพอลโล
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีจรวด
    • ความรู้รอบตัว
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ

คลังเก็บ

  • มิถุนายน 2025
  • พฤษภาคม 2025
  • เมษายน 2025
  • มีนาคม 2025
  • กุมภาพันธ์ 2025
  • มกราคม 2025
  • ธันวาคม 2024
  • พฤศจิกายน 2024
  • ตุลาคม 2024
  • กันยายน 2024
  • สิงหาคม 2024
  • กรกฎาคม 2024
  • มิถุนายน 2024
  • พฤษภาคม 2024
  • เมษายน 2024
  • มีนาคม 2024
  • กุมภาพันธ์ 2024
  • มกราคม 2024
  • พฤศจิกายน 2023
  • ตุลาคม 2023

Calendar

มิถุนายน 2025
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30  
« พ.ค.    

หมวดหมู่

  • ข่าวอวกาศ
  • คนไทยในวงการอวกาศ
  • ความรู้รอบตัว
  • ดวงจันทร์
  • ดวงอาทิตย์
  • ดาราศาสตร์
  • ดาวพฤหัสบดี
  • ดาวพุธ
  • ดาวยูเรนัส
  • ดาวศุกร์
  • ดาวอังคาร
  • ดาวเคราะห์แคระ
  • ดาวเนปจูน
  • ดาวเสาร์
  • ตำนานวงการอวกาศ
  • ทั่วไป
  • นักดาราศาสตร์
  • นักบินอวกาศ
  • นักบินอวกาศและบุคคลสำคัญ
  • ระบบสุริยะ
  • ระบบสุริยะของเรา
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
  • หน่วยงานอวกาศ
  • เทคโนโลยีจรวด
  • เทคโนโลยีอวกาศ
  • โครงการอะพอลโล
  • โลก

Copyright SPACEMAN 2025 | Theme by ThemeinProgress | Proudly powered by WordPress

SPACEMAN
  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • โครงการอะพอลโล
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีจรวด
    • ความรู้รอบตัว
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ
You are here :
  • Home
  • ข่าวอวกาศ
  • SpaceX ประสบความสำเร็จ! Starship ลงจอดด้วยแขนกลในเที่ยวบินทดสอบครั้งประวัติศาสตร์
14 ตุลาคม 2024

SpaceX ประสบความสำเร็จ! Starship ลงจอดด้วยแขนกลในเที่ยวบินทดสอบครั้งประวัติศาสตร์

ข่าวอวกาศ Article

บริษัทสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับวงการอวกาศอีกครั้ง ด้วยการส่งจรวดสตาร์ชิป (Starship) ขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 67 ที่ผ่านมา และครั้งนี้ซูเปอร์เฮฟวี (Super Heavy) ซึ่งเป็นบูสเตอร์ขั้นแรกขนาดยักษ์ (จรวดขับดันขนาดใหญ่) ของ Starship สามารถกลับสู่ฐานปล่อยและลงจอดได้อย่างสมบูรณ์แบบด้วยแขนกลที่คล้ายกับตะเกียบของหอปล่อยเมคคาซิลล่า (Mechazilla) ซึ่งชื่อนี้ได้แรงบันดาลใจมาจาก Mecha ที่ย่อมาจาก Mechanical หมายถึง เครื่องจักรกลหรือหุ่นยนต์ และ Godzilla ชื่อสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์ในภาพยนตร์ญี่ปุ่น ซึ่งสะท้อนถึงลักษณะของหอคอยปล่อยจรวดของ SpaceX ที่มีขนาดใหญ่โต และแขนกลที่แข็งแกร่ง คล้ายกับหุ่นยนต์ Godzilla นั่นเอง

การทดสอบครั้งนี้เกิดขึ้น ณ ฐานปล่อยสตาร์เบส (Starbase) ในเซาท์เท็กซัส สหรัฐอเมริกา เมื่อเวลา 8:25 น. ตามเวลาตะวันออก (12:25 GMT) โดย Starship จรวดที่ทรงพลังที่สุดในโลก ทะยานขึ้นฟ้าด้วยความสูงกว่า 400 ฟุต (122 เมตร) ก่อนที่ Super Heavy จะแยกตัวออกและลงจอดอย่างแม่นยำบนฐานปล่อยในเวลาประมาณ 7 นาทีต่อมา

ความสำเร็จของภารกิจ Flight 5 นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนา Starship ให้เป็นยานอวกาศที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการเดินทางในอวกาศและปูทางสู่การสำรวจอวกาศในอนาคต โดย SpaceX มีเป้าหมายที่จะใช้ Starship ในการส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ ดาวอังคาร และภารกิจสำรวจอวกาศอื่นๆ

อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ผู้ก่อตั้งบริษัท SpaceX ออกมาแสดงความยินดีกับทีมงานผ่านทาง X (Twitter เดิม) และย้ำถึงวิสัยทัศน์ของเขาในการทำให้มนุษยชาติกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนดาวเคราะห์หลายดวง

ทาง SpaceX มีแผนที่จะดำเนินการทดสอบ Starship ต่อไป โดยคาดว่าเที่ยวบินทดสอบครั้งที่ 6 (Flight 6) จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ แม้ว่า Starship จะยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา แต่ความสำเร็จในการทดสอบครั้งล่าสุดนี้ ถือเป็นสัญญาณบวกที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ Starship ในการปฏิวัติวงการเดินทางในอวกาศและเปิดประตูสู่ยุคใหม่ของการสำรวจอวกาศ


ข้อมูลอ้างอิง : SpaceX

You may also like

ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบที่มี “ฝนทราย” และดาวคู่หูที่กำลังก่อตัวเป็น “ปราสาททราย”

เผยภาพแรกของขั้วใต้ดวงอาทิตย์จากยานโซลาร์ออร์บิเตอร์

สเปซเอ็กซ์เลื่อนส่งภารกิจ Axiom-4 หลังพบรอยรั่วในจรวดฟอลคอน 9 พร้อมภารกิจ “ไก่ไทยไปอวกาศ”

จำนวนเข้าชม: 393
Tags: Elon Musk, SpaceX, Starship, จรวดสตาร์ชิป, สเปซเอ็กซ์, อีลอน มัสก์

เรื่องยอดนิยม

  • 9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (3,908)
  • บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,295)
  • จีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,813)
  • ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,762)
  • SpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,625)

© SPACEMAN มนุษย์อวกาศ | Theme by ThemeinProgress | Proudly powered by WordPress