• เกี่ยวกับเวิร์ดเพรส
    • WordPress.org
    • เอกสารประกอบ
    • Learn WordPress
    • สนับสนุน
    • ผลตอบรับ
  • Log In
Skip to content
SPACEMAN

SPACEMAN

ท่องโลกดาราศาสตร์และอวกาศ

Primary Menu
  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • โครงการอะพอลโล
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีจรวด
    • ความรู้รอบตัว
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ
เพจ SPACEMAN
  • Home
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
  • วันเหมายัน (winter solstice)
  • ความรู้รอบตัว
  • สารานุกรมดาราศาสตร์

วันเหมายัน (winter solstice)

มนุษย์อวกาศ 24 กรกฎาคม 2024
winter-solstice

วันเหมายัน (อ่านว่า เห-มา-ยัน) มาจาก หิม + อายน แปลว่า การมาของฤดูหนาว ซึ่งตรงกับความหมายคำภาษาอังกฤษ คือ winter solstice

สำหรับ solstice (อายัน) มาจากคำว่า solstitium ในภาษาละติน แปลว่า ดวงอาทิตย์หยุดนิ่ง เป็นปรากฏการณ์ที่เราเห็นดวงอาทิตย์ปรากฏที่อยู่จุดเหนือสุดหรือใต้สุด ดังนั้นในหนึ่งปีจะมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่าอายัน 2 ช่วง คือในช่วงเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม

ประเทศที่อยู่ในซีกโลกเหนือ (นับจากเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปถึงขั้วโลกเหนือ) รวมทั้งประเทศไทย วันที่เราจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นที่จุดสุดทางเหนือ จะเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 20-22 มิถุนายน เรียกว่า ครีษมายัน เป็นวันที่มีช่วงเวลากลางวันยาวที่สุด กลางคืนสั้นที่สุด บางประเทศนับเป็นวันเริ่มต้นฤดูร้อน ส่วนที่จุดสุดทางใต้จะเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 20-23 ธันวาคม เรียกว่า เหมายัน เป็นวันที่มีช่วงกลางวันสั้นที่สุด กลางคืนยาวที่สุด บางประเทศนับเป็นวันเริ่มต้นฤดูหนาว

โดยทั่วไปวันที่เกิดปรากฏการณ์เหมายันมักเกิดขึ้นในวันที่ 21-22 ของเดือน นาน ๆ ครั้งจึงจะเกิดขึ้นในวันที่ 20 และนานมาก ๆ ถึงจะเกิดขึ้นในวันที่ 23 ครั้งสุดท้ายที่วันเหมายันตรงกับวันที่ 23 ธันวาคม นั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2446 และจะเกิดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2846

ในขณะที่เราเป็นวันเหมายัน ประเทศที่อยู่ในซีกโลกใต้ (นับจากเส้นศูนย์สูตรลงไปถึงขั้วโลกใต้) เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จะตรงกันข้าม เป็นครีษมายัน ซึ่งคือการก้าวเข้าสู่หน้าร้อน


อ้างอิงข้อมูล
– https://www.timeanddate.com/calendar/ten-things-december-solstice.html
– https://kids.nationalgeographic.com/history/article/winter-solstice

จำนวนเข้าชม: 1,943

Continue Reading

Previous: ดวงจันทร์ (Moon)
Next: คริส แฮดฟิลด์ (Chris Hadfield) นักบินอวกาศแคนาดา ชายผู้สร้างสีสันให้วงการอวกาศโลก

เรื่องน่าอ่าน

Rocket Principles
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
  • เทคโนโลยีจรวด

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจรวด

มนุษย์อวกาศ 4 กรกฎาคม 2025
Astronaut-Bedroom
  • ความรู้รอบตัว
  • สารานุกรมดาราศาสตร์

นักบินอวกาศมีห้องนอนอย่างไรในอวกาศ?

มนุษย์อวกาศ 2 กรกฎาคม 2025
Webb Inspects the Heart of the Phantom Galaxy
  • ดาราศาสตร์
  • สารานุกรมดาราศาสตร์

กล้องเจมส์เว็บบ์ส่องใจกลางกาแล็กซีปีศาจ เผยรายละเอียดสุดคมชัด

มนุษย์อวกาศ 1 กรกฎาคม 2025
Lunio-Gen4

เรื่องยอดนิยม

  • nasa_technology9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (4,620)
  • Buzz-Aldrinบัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,384)
  • CNSA-Moonจีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,847)
  • Lunar-soil-Change5ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,816)
  • Poralis-DawnSpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,681)
Copyright © All rights reserved. | MoreNews by AF themes.