• เกี่ยวกับเวิร์ดเพรส
    • WordPress.org
    • เอกสารประกอบ
    • Learn WordPress
    • สนับสนุน
    • ผลตอบรับ
  • Log In
Skip to content
SPACEMAN

SPACEMAN

ท่องโลกดาราศาสตร์และอวกาศ

Primary Menu
  • หน้าแรก
  • ข่าวอวกาศ
  • ระบบสุริยะ
    • ระบบสุริยะของเรา
    • ดวงอาทิตย์
    • ดวงจันทร์
    • ดาวพุธ
    • ดาวศุกร์
    • โลก
    • ดาวอังคาร
    • ดาวพฤหัสบดี
    • ดาวเสาร์
    • ดาวยูเรนัส
    • ดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แคระ
  • นักบินอวกาศและนักดาราศาสตร์
    • นักบินอวกาศ
    • นักดาราศาสตร์
    • ตำนานวงการอวกาศ
    • คนไทยในวงการอวกาศ
  • สารานุกรมดาราศาสตร์
    • ดาราศาสตร์
    • โครงการอะพอลโล
    • เทคโนโลยีอวกาศ
    • หน่วยงานอวกาศ
    • เทคโนโลยีจรวด
    • ความรู้รอบตัว
  • ติดต่อมนุษย์อวกาศ
เพจ SPACEMAN
  • Home
  • ข่าวอวกาศ
  • ฮือฮา! พบดาวหางสีเขียว SWAN25F โผล่บนท้องฟ้า คาดสว่างจ้าพฤษภาคมนี้
  • ข่าวอวกาศ

ฮือฮา! พบดาวหางสีเขียว SWAN25F โผล่บนท้องฟ้า คาดสว่างจ้าพฤษภาคมนี้

มนุษย์อวกาศ 12 เมษายน 2025
SWAN25F

นักดาราศาสตร์สมัครเล่นได้ค้นพบดาวหางสีเขียวสดใส ดวงใหม่ล่าสุด ซึ่งขณะนี้กำลังเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์และโลกของเรา โดยดาวหางดวงนี้มีชื่อว่า SWAN25F หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า C/2025 F2 (SWAN) และกำลังเป็นที่สนใจของนักดูดาวทั่วโลก

ไมเคิล มัตทิอาซโซ (Michael Mattiazzo) นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวออสเตรเลีย เป็นผู้ค้นพบจากการสังเกตการณ์ด้วยอุปกรณ์ SWAN (Solar Wind Anisotropies) บนยานอวกาศ SOHO (Solar and Heliospheric Observatory) ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

ขณะนี้ ดาวหาง SWAN25F ปรากฏเป็นวัตถุสีเขียวจางๆ ในช่วงรุ่งเช้า ทางขอบฟ้าทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในกลุ่มดาวม้าบิน (Pegasus) มีค่าความสว่างปรากฏ (Magnitude) ประมาณ 8-9 ซึ่งยังไม่สว่างพอที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องใช้กล้องสองตา (Binoculars) หรือกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กในการสังเกตการณ์ อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าดาวหางดวงนี้จะสว่างขึ้นอีกเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น

นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่า ดาวหาง SWAN25F จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด หรือจุด Perihelion ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 โดยจะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในระยะประมาณ 50 ล้านกิโลเมตร ซึ่งใกล้กว่าวงโคจรของดาวพุธ (Mercury) หากดาวหางดวงนี้ยังคงอยู่รอดจากการเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ อาจจะสามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงพลบค่ำทางขอบฟ้าทิศตะวันตกเฉียงเหนือในเดือนพฤษภาคม


ข้อมูลอ้างอิง:EarthSky
เครดิตภาพ: Michael Jäger, Gerald Rhemann

จำนวนเข้าชม: 279

Continue Reading

Previous: แอเรีย 51 (Area 51) ฐานทัพลับกับเรื่องเล่าจากต่างดาว
Next: ภูมิประเทศอันโดดเด่นในหลุมเกล (Gale Crater) บนดาวอังคาร

เรื่องน่าอ่าน

Ali Observatory
  • ข่าวอวกาศ

จีนเปิดฉากภารกิจกล้องโทรทรรศน์ใหม่ เริ่มการค้นหาระลอกคลื่นแรกสุดของจักรวาล

มนุษย์อวกาศ 14 กรกฎาคม 2025
Mars-Clay
  • ข่าวอวกาศ

สัญญาณแห่งสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร อาจซ่อนตัวอยู่ในชั้นดินเหนียวหนา

มนุษย์อวกาศ 14 กรกฎาคม 2025
Firefly-IPO
  • ข่าวอวกาศ

ไฟร์ฟลายแอโรสเปซ (Firefly Aerospace) ยื่นเอกสารเตรียมเปิดขายหุ้น IPO สู่สาธารณะ

มนุษย์อวกาศ 14 กรกฎาคม 2025
Lunio-Gen4

เรื่องยอดนิยม

  • nasa_technology9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการสำรวจอวกาศ (4,791)
  • Buzz-Aldrinบัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศนาซา (3,413)
  • CNSA-Moonจีนเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจอวกาศห้วงลึก หลังจากเก็บตัวอย่างด้านไกลของดวงจันทร์ (2,858)
  • Lunar-soil-Change5ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 ในงาน อว. แฟร์ 22-28 ก.ค. 67 (2,825)
  • Poralis-DawnSpaceX กำหนดปล่อยภารกิจ Polaris Dawn จะมีการเดินอวกาศ (Spacewalk) โดยเอกชนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (2,708)
Copyright © All rights reserved. | MoreNews by AF themes.