จีนเลือกอุปกรณ์วิทยาศาสตร์และวิจัย (Payload) ที่พัฒนาขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ไทยของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) และมหาวิทยาลัยมหิดล “อุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอวกาศระหว่างโลกและดวงจันทร์ ตรวจวัดรังสีคอสมิก และติดตามผลกระทบที่มีต่อโลก” (𝗦𝗶𝗻𝗼-𝗧𝗵𝗮𝗶 𝗦𝗲𝗻𝘀𝗼𝗿 𝗣𝗮𝗰𝗸𝗮𝗴𝗲 𝗳𝗼𝗿 𝗦𝗽𝗮𝗰𝗲 𝗪𝗲𝗮𝘁𝗵𝗲𝗿 𝗚𝗹𝗼𝗯𝗮𝗹 𝗠𝗼𝗻𝗶𝘁𝗼𝗿𝗶𝗻𝗴) โดยเป็น 1 ใน 7 อุปกรณ์ที่ผ่านการคัดเลือกให้ติดตั้งไปกับยานสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ 7 (Chang’e 7) ของจีน ซึ่งมีกำหนดปล่อยสู่อวกาศในปี พ.ศ. 2569
โครงสร้างของอุปกรณ์ Payload แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1️⃣ ส่วนบนใช้ติดตั้งอุปกรณ์ศึกษาอนุภาคอิเล็กตรวจจากอวกาศ
2️⃣ ส่วนกลางใช้สำหรับรับสัญญาณเชิงแสงและแปลงเป็นข้อมูลดิจิทัลส่งกลับมายังโลก
3️⃣ ส่วนล่างติดตั้งอุปกรณ์ศึกษาไอออนที่สะท้อนจากผิวดวงจันทร์
สำหรับประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ เช่น นักวิทยาศาสตร์ไทยจะได้ศึกษาพายุสุริยะที่ผิวดวงอาทิตย์เกิดการระเบิดลุกจ้า ปลดปล่อยอนุภาคประจุไฟฟ้าออกมาจำนวนมหาศาล ประจุไฟฟ้าที่พุ่งออกมานี้ จะรบกวนระบบดาวเทียม การสื่อสาร สภาพการผลิตพลังงานของเซลล์แสงอาทิตย์ และระบบไฟฟ้าแรงสูง เกิดการศึกษาปัจจัยและสร้างแบบจำลอง เพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ สามารถพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยด้านสภาพอวกาศได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น